ปัญญาชนชาวตะวันตกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ทำให้วิทยาการความรู้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เกิดจากแนวความคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาว กรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ สติปัญญาของมนุษย์สามารถนำมนุษย์ไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก
2. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลอง จนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)
นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาล ที่มีสาระสำคัญคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความคิดของโคเปอร์นิคัส เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ ( Telescope ) ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น
เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบ 2 ทฤษฎีคือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาล และกฎแห่งความโน้มถ่วง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น