วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ศิลปะ


อารยธรรมของมนุษย์ดำเนินมาอย่างยาวนาน มีวิวัฒนาการมาเรื่อย เราอาจจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกทางตัวอักษร แต่ไม่เสมอไป บางยุคบางสมัย ไม่พบหลักฐานในการใช้ตัวหนังสือ บางยุคก็เป็นอักษรโบราณที่คนปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงทำได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ ศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรม เพราะงานศิลปะ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยแท้จริง มนุษย์นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และการตกแต่งประดับประดาเพื่อความสวยงาม หรือแม้กระทั่งความรื่นรมย์

ยุค ก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็คือ ยุคที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ ศิลปกรรมในยุคนี้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางด้านความเชื่อ และสัญชาตญาณ ในระยะแรก ๆ จะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ แล้วต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของตนลงไป

งานทางด้านจิตรกรรมจะปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ มีทั้งรูปมือ รูปคน รูปลายเรขาคณิต แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นรูปสัตว์

ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่จะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น พวกภาชนะใส่ของ ใบมีดที่ทำจากเปลือกหอยน้ำจืด ขวานกำปั้นซึ่งทำจากหิน อาวุธต่าง ๆ ที่ทำจากกระดูกสัตว์ อาทิ ลูกศร ปลายหอก ฉมวก แต่ก็พบรูปแกะสลักหินอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือเพื่อขอบุตร

รูปสลักที่มีชื่อเสียงคือ วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (ออสเตรีย)

วีนัสแห่งเวสโทนิค (เชก)

และวีนัสแห่งลอเซล (ฝรั่งเศส)

สถาปัตยกรรมคงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด น่าฉงนฉงายเป็นที่สุด เพราะไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเพื่ออะไร มีแต่การคาดเดาไปต่างๆนานา สถาปัตยกรรมได้แก่

พวกหินตั้ง (Menhir) เป็นหินก้อนเดียวโดด ๆ วางตั้งอยู่

โต๊ะหิน (Stone hence) ประกอบด้วยหินสองแท่งหรือมากกว่าวางตั้งอยู่ และมีหินก้อนวางพาดอยู่ข้างบน โครงสร้างลักษณะนี้เรียกว่าโครงสร้างแบบวางพาด ซึ่งจะพบได้ในสถาปัตยกรรมในยุคต่อ ๆ มา

หินตั้งล้อม (Stone circle) ประกอบด้วย โต๊ะหินต่อเนื่องกันล้อมเป็นวงกลม

Alignments คือ หินตั้งเรียงกันเป็นแถวยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น