วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ขอเชิญร่วมประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555

ขอเชิญร่วมประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555

Share
ด้วย ธนาคารกสิกรไทยได้จัดให้มีการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555 และได้วางระเบียบการประกวดไว้ ดังต่อไปนี้
1. แนวเรื่อง
ศิลปินสามารถกำหนดแนวเรื่องโดยอิสระ ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์และรูปแบบการแสดงออกในศิลปกรรมร่วมสมัยของไทย
2. ประเภทศิลปกรรม ได้แก่
2.1 งานศิลปกรรมที่มีลักษณะ 2 มิติ ได้แก่ งานวาดเส้น (Drawing) งานจิตรกรรม (Painting) คืองานศิลปกรรมประเภทการวาด ระบายหรือเทคนิคการปิดปะ และ งานภาพพิมพ์ (Print) คืองานศิลปกรรมประเภทศิลปะภาพพิมพ์ ในประเภทและกระบวนการภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ (Intaglio) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ตะแกรงไหม (Silkscreen) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ (Wood Cut / Wood Block) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์แผ่นยาง (Lino Cut) หรือ กระบวนการภาพพิมพ์แบบต่างๆ เช่น ภาพพิมพ์แม่พิมพ์หิน (Lithograph) หรือ ภาพพิมพ์ชิ้นเดียว (Monoprint)
2.2 งานศิลปกรรมที่มีลักษณะ 3 มิติ ได้แก่ งานประติมากรรม (Sculpture) คืองานประเภทการปั้น หล่อ แกะสลัก การเชื่อมโลหะ หรือวัสดุสมัยใหม่

3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานและลักษณะงานที่ส่งเข้าประกวด
3.1 เป็นศิลปินสัญชาติไทย หรือศิลปินต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3.2 เป็นผู้สร้างผลงานจากความคิดของตนเองและเป็นงานที่ทำด้วยฝีมือของตนเอง
3.3 เป็นศิลปกรรมที่ไม่เคยแสดง ณ ที่อื่นใดมาก่อน

4. การส่งงานเข้าประกวด
4.1 ศิลปินมีสิทธิ์ส่งงานเข้าประกวดได้ประเภทละไม่เกิน 2 ชิ้น และส่ง ณ จุดรับงานแห่งเดียวกันตามข้อ 4.8
4.2 ขนาดของงานที่ส่งเข้าประกวด
- ประเภทงาน 2 มิติ จะต้องมีขนาดด้านละไม่เกิน 2 เมตร (รวมกรอบ)
- ประเภทงาน 3 มิติ จะต้องมีขนาดกว้าง ยาว และสูงไม่เกินด้านละ 1 เมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
4.3 งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องใช้วิธีการและวัสดุที่คงทนถาวร
4.4 งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย พร้อมจะติดตั้งได้
4.5 ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องศึกษาในระเบียบการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555 และยอมรับในเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ จากนั้นจึงลงนามในใบส่งผลงานเพื่อเป็นหลักฐานกับเจ้าหน้าที่
4.6 กรณีผู้ส่งงานประสงค์จะจำหน่ายผลงานนั้น ๆ ให้แจ้งราคาไว้ในใบส่งผลงาน
4.7 ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 7 - 9 กันยายน 2555 พร้อมกันทุกภูมิภาค
4.8 ติดต่อส่งผลงานได้ตามสถานที่ต่อไปนี้
ภาคใต้ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
โทร. (074) 443-959
ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม
โทร. (02) 221-3841/ (085) 087-9373
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โทร. (043) 754-384
ภาคเหนือ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร. (053) 944-833
4.9 การส่งและรับคืนผลงานเป็นความรับผิดชอบของศิลปินเจ้าของผลงาน
อนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมเท่านั้นเพื่อเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ โดยคณะกรรมการดำเนินงานจะระวังรักษาผลงานที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเหตุสุดวิสัย
5. คณะกรรมการ
ธนาคารกสิกรไทยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ดังนี้

5.1 คณะกรรมการคัดเลือก
ภาคกลางและภาคตะวันออก
อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ กรรมการ
รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ กรรมการ
รองศาสตราจารย์สรรณรงค์ สิงหเสนี กรรมการ
รองศาสตราจารย์จิระพัฒน์ พิตรปรีชา กรรมการ
รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลินทสูต กรรมการ

ภาคเหนือ
รองศาสตราจารย์พงศ์เดช ไชยคุตร ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร รอดบุญ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ เสาว์คง กรรมการ
อาจารย์พิชัย กรรณกุลสุนทร กรรมการ
อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ กรรมการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ประธานกรรมการ
อาจารย์ทวี รัชนีกร กรรมการ
อาจารย์ผ่อง เซ่งกิ่ง กรรมการ
อาจารย์โชคชัย ตักโพธิ์ กรรมการ
อาจารย์นิพนธ์ ขันแก้ว กรรมการ

ภาคใต้
อาจารย์ชิโนรส รุ่งสกุล ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมล คงทอง กรรมการ
อาจารย์จรูญ ศรียะพันธุ์ กรรมการ
อาจารย์ปริทรรศ หุตางกูร กรรมการ
5.2 คณะกรรมการตัดสิน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ประธานกรรมการตัดสิน
อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน กรรมการ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม กรรมการ
ศาสตราจารย์เดชา วราชุน กรรมการ
ศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก กรรมการ
ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง กรรมการ
รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข กรรมการ
รองศาสตราจารย์พงศ์เดช ไชยคุตร กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง กรรมการ
อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กรรมการ
อาจารย์ชิโนรส รุ่งสกุล กรรมการ
รองศาสตราจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร กรรมการและเลขานุการ
อาจารย์วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยเลขานุการ

6. การคัดเลือกและตัดสิน
6.1 การคัดเลือกและตัดสินแบ่งเป็น
- รอบคัดเลือก ณ ภูมิภาคที่ส่งผลงาน โดยคณะกรรมการคัดเลือกในแต่ละภาคเป็นผู้พิจารณา
- รอบตัดสิน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ โดยคณะกรรมการตัดสินเป็นผู้พิจารณา
6.2 การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการตัดสิน ถือว่าเป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้
6.3 คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินทรงสิทธิ์ในการคัดเลือกผลงานที่เหมาะสมและมีคุณภาพเพื่อรับรางวัลและเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ
6.4 คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินทรงสิทธิ์ในการงดหรือเพิ่มรางวัลใดรางวัลหนึ่งได้
6.5 ผลการตัดสินรอบสุดท้ายจะประกาศให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ www.kasikornbank.com
และผ่านทางสื่อมวลชน
7. รางวัล
รางวัลแบ่งออกเป็น 13 รางวัล รวมเงินรางวัล 1.4 ล้านบาท ได้แก่
7.1 รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัลละ 300,000 บาท พร้อมเหรียญรางวัล
7.2 รางวัลชนะเลิศ จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัลละ 200,000 บาท พร้อมเหรียญรางวัล
7.3 รางวัลพิเศษ จำนวน 10 รางวัล เงินรางวัลละ 70,000 บาท พร้อมเหรียญรางวัล

* เงินสมนาคุณผลงานละ 5,000 บาท สำหรับผลงานของศิลปินที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดงนิทรรศการจะได้รับภายหลังร่วมแสดง ยกเว้นผู้ที่ได้รับรางวัล
8. กรรมสิทธิ์ของงานที่ได้รับรางวัล
8.1 งานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลทุกรางวัล ได้แก่ รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลชนะเลิศ และรางวัลพิเศษให้ตกเป็นสมบัติของธนาคารกสิกรไทย
8.2 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกรับรางวัล ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการมอบผลงานบางชิ้นให้แก่หน่วยราชการและองค์กรต่าง ๆ
8.3 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกรับรางวัลและร่วมแสดงนิทรรศการ ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานและการจัดพิมพ์ผลงานเพื่อเป็นวิชาการและประโยชน์ต่อสาธารณะ
9. กำหนดการดำเนินการ
9.1 การส่งผลงาน วันที่ 7-9 กันยายน 2555 เวลา 10.00-16.00 น. พร้อมกันทุกภูมิภาค
9.2 การคัดเลือกระดับภูมิภาค
- ภาคใต้ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- ภาคกลางและตะวันออก ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ภาคเหนือ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9.3 การตัดสินรอบสุดท้าย ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ (อาคารพหลโยธิน)
9.4 มอบรางวัลและการแสดงนิทรรศการ
มอบรางวัล วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2555 ณ ธนาคารกสิกรไทย อาคารพหลโยธิน
การแสดงนิทรรศการ วันที่ 6 ธันวาคม 2555 - 31 มกราคม 2556 เวลา 9.00-16.00 น. (เว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ (อาคารพหลโยธิน)

10. ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัล ให้ศิลปินผู้ส่งงานรับงานคืน ดังนี้
10.1 ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ สามารถรับคืนได้ที่จุดส่งผลงานในแต่ละภูมิภาค ในวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555 โดยจะได้รับค่าขนส่งคนละ 1,000 บาท และหากพ้นกำหนดเวลาการรับงานคืนตามที่ประกาศแล้ว คณะกรรมการดำเนินการไม่อาจรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ อันจะพึงมีได้
10.2 ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัล แต่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ สามารถรับคืนได้ที่จุดรับงานตามภูมิภาค ในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 โดยจะได้รับเงินค่าสมนาคุณคนละ 5,000 บาท ตามหมายเหตุในข้อ 7 และหากพ้นกำหนดเวลาการรับงานคืนตามที่ประกาศแล้ว คณะกรรมการดำเนินการไม่อาจรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ อันจะพึงมีได้
สอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย 0 2470 2653-8

สมัย โฟวิสม์

สมัย โฟวิสม์

ณ งานแสดงศิลปะที่ซาลงโดตอน ในปีค.ศ.1905 การแสดงครั้งนี้เป็นการแสดงผลงานที่คละเคล้ากันไประหว่างงานยุคเก่าและงานยุคใหม่ ในงานยุคเก่าคือ ผลงานประติมากรรมแบบ Renaissance ของศิลปินโดนาเตลโล กับงานยุคใหม่โดยจิตรกรร่วมสมัยในยุคนั้นซึ่งมีรูปแบบและสีสันที่รุนแรง ดุดัน อันเป็นลักษณะตรงกันข้ามกับศิลปะ Renaissance เลยทีเดียว

ดังนั้นเมื่อนักวิจารณ์ที่ชื่อ หลุยส์ โวเซลล์ได้เข้ามาชมงานจึงเกิดความรู้สึกว่า ผลงานของโดนาเตลโลอยู่ท่ามกลางสัตว์ป่า(fauv) ซึ่งสัตว์ป่าในที่นี้ หลุยส์ โวเซลล์หมายถึง ผลงานศิลปะร่วมสมัยที่แสดงอยู่ร่วมกันนั่นเอง แม้เขาวิจารณ์ด้วยความรู้สึกกระแทกแดกดันมากกว่าชื่นชม แต่กลุ่มศิลปินเหล่านี้กลับเห็นดีเห็นงามกับคำวิจารณ์ของเขาไปเสียนี่ ดังนั้นพวกเขาจึงยินดีใช้ชื่อกลุ่มว่า Fauvism ไปเสียเลย
ศิลปะแนวนี้เกิดขึ้นที่ฝรั่งเศสโดย อองรี มาติสส์ คือผู้นำของกลุ่ม งานของพวกเขาเป็นการหาแนวทางใหม่ให้กับโลกศิลปะ ฉีกกฎเกณฑ์เก่า ๆ อันคร่ำครึ สร้างงานตามสัญชาตญาณการแสดงออกอย่างเต็มที่ ใช้สีสดใส รุนแรง มีลีลาสนุกสนาน มีการตัดเส้นอย่างเด่นชัด แม้ว่าจะใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงแต่ก็เข้ากันได้อย่างประสานสัมพันธ์ ผลงานโดดเด่นที่ความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินซึ่งแสดงออกอย่างเสรี มาติสส์ได้รับแนวคิดจาก เซซานน์ ทางรูปทรงและความรู้สึก แล้วนำมาปรับปรุงใหม่

"สิ่งที่ข้าพเจ้าฝันถึงคือ ศิลปะแห่งความสมดุล ความบริสุทธิ์และความสงบ โดยไม่พะวงถึงเรื่องราว ศิลปะที่ข้าพเจ้าต้องการเป็นศิลปะที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด ศิลปะคล้ายกับเก้าอี้โยกอย่างดีที่ให้ความสบาย คลายความเมื่อยล้าของร่างกายอย่างไรอย่างนั้น"

"โลกภายนอกที่เห็นชัดเจนนี้มีอยู่ในจิตใจของศิลปิน และความรู้สึกของสีขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสัมพันธ์ของรูปและสีต้องสมดุลกันตามที่ศิลปินต้องการ"

"ในการมองภาพจิตรกรรม ควรจะลืมเสียเถิดว่ามันเป็นเรื่องอะไร"

"นั่นไม่ใช่รูปผู้หญิง แต่เป็นรูปเขียนผู้หญิง" เหล่านี้ คือความคิดของ อองรี มาติสส์ ซึ่งทำให้เราได้เห็นว่าเขาเป็นคนหัวก้าวหน้า กล้าคิด กล้าทำขนาดไหน มิหนำซ้ำยังกล้าวิจารณ์งานในแบบ นีโอ-อิมเพรสชั่นนิสม์อีกว่า การใช้สีแต้มจุดแบบนั้นเป็นเพียงกลวิธี หาใช่ความสุนทรีย์ไม่







สมัย เอ็กซเพรสชั่นนิสม์

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ กลุ่มโฟวิสม์ อุบัติขึ้นที่ฝรั่งเศสนั้น ที่เยอรมัน ก็มีกลุ่มเอ็กซเพรสชั่นนิสม์เกิดขึ้นมาใหม่เหมือนกัน โดยศิลปินกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลแนวคิด คตินิยมต่อจากฟาน กอห์ก

และโกแกง โดยตรง

นั่นคือการแสดงออกถึงอารมณ์ภายในอันเร่าร้อนรุนแรง การใช้สีและการตัดเส้นรอบนอก เพื่อให้รูปทรงดูเด่นชัดและแข็งกร้าว พวกเขาสะท้อนแนวคิดที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง แสดงความสกปรก ความหลอกลวง ความเลวร้ายของสังคม ต่างจาก โฟวิสม์ ซึ่ง กลุ่มโฟวิสม์ ที่ฝรั่งเศสไม่ได้เน้นเนื้อหาตรงนี้

ทว่าความคิดที่สอดคล้องต้องกันของทั้งสองกลุ่มก็คือ พวกเขาคิดว่า ศิลปกรรมของยุโรปโดยทั่วไปมีแนวโน้มการแสดงออกไปในด้านที่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความจริง

ศิลปินต่างเสแสร้งและปิดบังโลกแห่งความเป็นจริง คำนึงถึงความงามแต่อย่างเดียว ทำให้มันดูสูงสง่า เป็นของเข้าใจยาก ศิลปินทั้งสองกลุ่มไม่ได้ยึดแนวทางดั้งเดิม เรียกว่า พวกเขามีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อความงามทางศิลปะก็ว่าได้ แล้วหันมาเสนองานที่กล้าเผชิญหน้าตรง ๆ ระหว่างโลกและมนุษย์

แต่การแสดงออกของทั้งสองกลุ่มก็มีแนวทางแตกต่างกัน โฟวิสม์ใช้อารมณ์สร้างรูปแบบส่วนเอ็กซเพรสชั่นนิสม์ปล่อยให้รูปแบบแสดงอารมณ์

พวกเอ็กซเพรสชั่นนิสม์แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งชื่อกลุ่มสะพาน (die brucke) ประกอบด้วย Ernst Ludwig Kirchner,Karl Schmidt Rottluff,Eric Hegkel,Max Pechstein,Emile Nolde ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มนักขี่ม้าสีน้ำเงิน (Der Blaue Reiter) ประกอบด้วย Franz Marc,Wassily Kandinsky,Paul Klee,Lyonel Feiniger,August Macke,Heinrick Campendonk

หลักสุนทรียภาพของพวกเขาอยู่ที่การแสดงออกอย่างรุนแรงเกินความจริง มีการบิดผันรูปทรงต่าง ๆ ให้ดูหมุนเวียน มีการเคลื่อนไหว แสดงเส้นอย่างเด่นชัด ชอบใช้สีดำ (ต่างจากอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ไม่ใช้สีดำ เพราะถือว่าสีดำไม่มีอยู่ในธรรมชาติของแสง) และใช้สีที่ตัดกันอย่างรุนแรง ชอบในรูปทรงง่าย ๆ แต่สามารถสร้างอารมณ์อย่างถึงขีดสุด



สมัย คิวบิสม์

มันเริ่มต้นมาจาก พอล เซซานน์ ที่ค้นหาความงามจากรูปทรงต่าง ๆใ นธรรมชาติ เซซานน์ ว่าศิลปินควรดูความงามของธรรมชาติจากรูปทรงของเหลี่ยม ลูกบาศก์ ค้นหาโครงสร้างตามความจริงที่เป็นแท่ง ๆ มากกว่าจะไปเน้นที่รายละเอียด

พาโบล ปิกัสโซ นำแนวความคิดนี้มาพัฒนาต่อจนเป็นรูปแบบของตนเองและทำให้เขาโดดเด่นเป็นผู้นำในศิลปะแนวนี้ เขาสร้างรูปทรงเป็นแบบเรขาคณิต หาโครงสร้างมาแยกย่อยแล้วประกอบเข้ากันใหม่ ใช้สีแบน ๆ บางทีเอาด้านหน้าและด้านหลังมาประกอบพร้อม ๆ กันเพื่อให้ผู้ดูได้เห็นวัตถุนั้นทั้งสองด้านในคราวเดียวกัน เป็นการแก้ปัญหาของภาพเขียนที่มีเพียงสองมิติและตาเห็นได้แค่ด้านเดียว หลักสุนทรียศาสตร์อยู่ที่ กฎของการควบคุมความรู้สึก อารมณ์การแสดงออกต้องมีการพิจารณากลั่นกรองเสียก่อน ใช้สีมัว ไม่สด ไม่รุนแรง

คิวบิสม์แบ่งออกได้เป็นสามยุค ในยุคแรก คิวบิสม์วิเคราะห์ งานมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์รูปทรงให้พัฒนานอกเหนือจากสภาพที่เป็นอยู่ในธรรมชาติ เน้นเรื่องน้ำหนัก ความแข็งแรงของวัตถุและปริมาตร ศิลปินจะมองสิ่งต่าง ๆ คล้ายผลึกแก้วหรือเพชรได้รับการเจียระไนให้เกิดเหลี่ยมเป็นแง่เป็นมุม และยังทำให้โปร่งแสงแสดงรอยที่ซ้อนทับกัน เพื่อทำให้เกิดมิติ ในยุคแรกนี้ยังมีร่องรอยของธรรมชาติปรากฏอยู่
ยุคที่สอง ยุคทองของคิวบิสม์วิเคราะห์ ศิลปินจะจำแนกวัตถุออกเป็นส่วนต่างๆ ขยายให้เกิดมุมเด่นชัดขึ้น แล้วก็ผสมผสานวัตถุต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันทั้งภาพ ไม่แสดงส่วนละเอียด สีในภาพเป็นสีเทาอมน้ำตาล นำวัตถุที่ถูกมองจากมุมมองที่ต่างกัน ทั้งเบื้องบน ด้านข้าง ด้านหน้า หรือด้านใด ๆ ก็แล้วแต่มารวมกันให้เกิดเอกภาพ อยู่ในองค์เดียวกัน ทางด้านรูปทรงก็ถูกทำลายจนเกือบอยู่ในสภาพนามธรรมอยู่แล้ว

ยุคที่สาม คิวบิสม์สังเคราะห์ ผลงานในยุคนี้เริ่มมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาคละเคล้าปะติดรวมกันกับการวาดภาพ วัสดุเหล่านี้อาจเป็นกระดาษ ผ้า ฯลฯ วิธีเช่นนี้เรียกว่า Collage มีการเขียนตัวหนังสือหรือชไม่ก็ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ ปะลงผืนผ้าใบทำให้เกิดอารมณ์ทางด้าน Novel Tactile Value (แปลว่า คุณค่าในการรับรู้ด้วยการนำอักษรมาเป็นสื่อนำความเข้าใจ) การจัดภาพในยุคนี้เป็นอิสระกว่าเดิม มีการสังเคราะห์ในเรื่องของเส้นให้มีความใกล้ชิดกับเส้นเรขาคณิตมากขึ้น

กล่าวคือเส้นตรง โค้งเป็นระเบียบ โดยไม่มีเส้นแบบอ่อนไหวที่ไม่เป็นระเบียบ ให้ความสำคัญกับการจัดวาง กลายเป็น"การเล่นของวุฒิปัญญา"

สมัย ฟิวเจอริสม์

ศิลปะเพื่ออนาคต ฟิวเจอริสม์ ถือเป็นคำประกาศของการสิ้นสุดยุคสมัยศิลปกรรมในอดีต และเป็นการเกิดใหม่ของศิลปะอีกยุคหนึ่ง ศิลปินกลุ่มนี้เกิดขึ้นที่อิตาลี นับถือความเร็วเป็นพระเจ้า ว่ากันว่ารถจักรยานยนต์ที่ส่งเสียงคำรามกึกก้องราวกับปืนกลนั้น มีความสวยงามยิ่งกว่ารูปประติมากรรมสลักหินอ่อนที่ชื่ออนุสาวรีย์ชัยชนะแห่งซาโมเธรสเสียอีก (ว่าเข้าไปนั่น) พวกเขาคัดค้านความคิดในสุนทรียภาพตามแบบฉบับของคลาสสิกโบราณ ดังนั้นจึงควรรื้อเมืองโบราณ เผาพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดซึ่งเป็นที่รวมความคิดมอมเมาประชาชนในยุคปัจจุบันของคนโบราณเสียให้หมด (อะไรจะขนาดนั้น) พวกเขาชิงชังความคิดอันเพ้อฝัน ความงามของพวกเขาขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อย่างพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องบิน สิ่งที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็ว พวกเขายึดหลักอยู่สองประการคือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอากาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญาณในร่างกาย (สุดท้ายศิลปะก็หนีไม่พ้นเรื่องของจิตวิญญาณอยู่ดี)

ศิลปินใช้วิธีวาดให้เกิดภาพลวงตา ซึ่งคิดขึ้นมาจากทฤษฎีวัตถุที่ประจักษ์แก่สายตา โดยผ่านการทดลองให้เห็นจริงมาแล้ว จากภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ พวกเขาค้นหาความจริงของการเปลี่ยนรูปทรง ซึ่งจะสูญเสียความมีปริมาตรเมื่อรูปทรงนั้น ๆ เคลื่อนไหว ศิลปินที่เป็นผู้นำของกลุ่มคือ Umberto Boccioni พวกเขาถือว่า รูปทรงที่ได้รับการถ่ายทอดให้เหมือนจริงตามแบบทั้งหมด เป็นสิ่งที่น่าดูถูกเหยียดหยาม รูปทรงที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์จึงจะเป็นสิ่งที่น่ายกย่องแสนประเสริฐ

ผลงานแสดงออกถึงความวุ่นวายของชีวิตในยุคใหม่ ให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบของภาพ

ลัทธิกลศาสตร์ ที่ว่าด้วยการเคลื่อนไหวของจักรวาล ต้องมีอยู่ในงานจิตรกรรม พร้อมกับการแสดงความเคลื่อนไหว พวกเขากล่าวว่า คำว่า "คนบ้า" เป็นคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือปิดปากพวกหัวก้าวหน้าทั้งหลาย ดังนั้นควรพิจารณาด้วยความเป็นธรรม

บ็อชชินี่บอกว่างานของพวกเขาไม่ใช่การก่อรูปของร่างกาย แต่เป็นการก่อรูปของการกระทำของร่างกาย หมายความว่างานทุกชิ้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวนั่นเอง แต่กลุ่มฟิวเจอริสม์นี้มีอายุสั้น เนื่องจากช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ.1914) ผู้นำกลุ่มคือบ็อชชินี่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เขาได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเสียชีวิตลงในปี 1916 ผู้ที่เคยร่วมอุดมการณ์ต่างก็แยกย้ายไปหาแนวทางอื่นในการทำงานของตนต่อไป





ศิลปะ นามธรรม

สุดยอดของงานที่ดูแล้วไม่รู้เรื่องที่สุดก็คืองานในแนว แอบสแตรก นี่เอง การแสดงออกของงานนามธรรมมีหลักกว้าง ๆ อยู่สองแนวคือ

1. ตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ให้มีรูปทรงที่ง่ายหรือเหลือแต่แก่นแท้

2. สร้างรูปทรงที่ไม่ต้องการเสนอเรื่องราวใดๆเป็นพื้นฐาน อย่างเช่น รูปทรงเรขาคณิต มาใช้ในการสร้างงาน

ศิลปะนามธรรมนี้ยังแบ่งออกเป็นสองแบบด้วยกัน ได้แก่ แบบโรแมนติก เป็นงานที่แสดงความรู้สึกอย่างมีอิสระ มีอารมณ์เป็นพื้นฐาน แสดงความรู้สึกภายในออกมาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า In formalist (ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์)

แบบคลาสสิก ซึ่งมีสิ่งดลใจจากรูปทรงเรขาคณิต มีการวางแผน มีกฎเกณฑ์ กฎที่ว่าอาจคิดขึ้นเองได้ พวกนี้เรียกว่า Formalist (มีระเบียบกฎเกณฑ์)

Wassily Kandinsky (คนเดียวกับที่อยู่ในกลุ่มนักขี่ม้าสีน้ำเงินนั่นแหละ) นับเป็นคนแรกที่ทำงานในแนวนี้ เขามีหลักในการทำงานด้วยการใช้สีสดบริสุทธิ์ เน้นเรื่องสีและรูปทรง ที่จะเป็นหลักการติดต่อระหว่างเจตนากับวิญญาณของมนุษย์

ทางด้านองค์ประกอบ มีจุดประสงค์ในการรวมตัวของสีและรูปทรงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ การรวบรวมไว้โดยความจำภายในใจ และกลับฟื้นมาอีกในรูปทรงทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า ภาพ

เขากล่าวว่างานศิลปะประกอบด้วยสองสิ่งคือ สิ่งที่อยู่ภายใน กับสิ่งที่อยู่ภายนอก สิ่งที่อยู่ภายในคืออารมณ์ ความรู้สึกในวิญญาณของศิลปิน

ความรู้สึกนี้มีความยิ่งใหญ่ต่อการปลุกเร้า ความรู้สึกให้คล้ายคลึงกับที่มีอยู่ในผู้ชม (ผู้ชมคือสิ่งที่อยู่ภายนอก) เมื่อความรู้สึกของทั้งสองคือฝ่ายศิลปินและผู้ชมมีความคล้ายกันและมีค่าเท่าเทียมกัน ย่อมหมายความว่างานศิลปะชิ้นนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ สิ่งที่อยู่ภายในนั้นต้องมีอยู่ งานศิลปะเป็นเพียงสิ่งสมมติ ดังนั้น สิ่งที่อยู่ภายในจะเป็นสิ่งกำหนดงานศิลปกรรม

กำเนิดแห่งแรงดลใจมาจาก ความประทับใจในธรรมชาติ จิตไร้สำนึกที่แสดงออกอย่างฉับพลัน และงานที่ถูกทำแล้วทำอีกเป็นเรื่องราวที่อวดภูมิปัญญา สิ่งนี้เขาเรียกว่า องค์ประกอบ

ศิลปะ ดาดา

ดาดาอิสม์ เป็นศิลปะอีกกลุ่มหนึ่งที่มีปฏิกิริยาต่อต้านคัดค้านศิลปกรรมเก่า ๆ ในอดีต พวกเขาคิดว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีจิตใจคับแคบ ดังนั้นต้องสร้างสรรค์งานแนวใหม่ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับศิลปะแบบเก่า

แนวความคิดของกลุ่มนี้อยู่บนพื้นฐานทางอามรณ์ อันต้องการปลดเปลื้องความคิดผิด ๆ แบบเก่าให้หมดไป และเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมในสังคมและศิลปะวิทยา สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การแสดงออกของศิลปินกลุ่มนี้ออกไปทางแดกดัน เยาะเย้ย ถากถาง มองโลกในแง่ร้าย เห็นว่าโลกนี้เลว สมควรถูกทำลายได้แล้ว พวกเขาแนะให้มีการสร้างงานที่ผิดหลักความจริง สร้างศิลปะอยู่ที่การโกหก หลอกลวงเป็นสำคัญ

พวกเขาไม่เชื่อหลักตรรกวิทยา หากแต่ต้องการปลดปล่อยจิตไร้สำนึกให้แสดงพฤติกรรมอย่างอิสระเต็มที่ แม้ว่าจิตไร้สำนึกจะมีแนวโน้มเอียงไปในทางวิตถาร ดูพิลึก พิสดารก็ตาม พวกเขายังได้รับอิทธิพลมาจากพวกฟิวเจอริสม์ ในเรื่องของความเร็วและเครื่องจักรกลด้วย แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ ฟิวเจอริสม์ยังคงมีรูปแบบการแสดงออกแบบเก่า ส่วนพวกดาดาชอบการประชดประชัน ดูถูกเหยียดหยาม

ศิลปะ เซอร์เรียลลิสม์

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า เซอร์ กันมาบ้าง แต่งตัวเซอร์ ๆ ทำตัวเซอร์ ๆ อะไรทำนองนี้ คำว่าเซอร์ นี่ก็มาจากศิลปะแนวเซอร์เรียลิสม์ นี่เอง มีความหมายว่าเหนือความจริง เพราะศิลปะแนวนี้ถ่ายทอดเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความฝันออกมา ว่ากันว่า ความฝันนั้นเป็นสิ่งที่จริงแท้เสียยิ่งกว่าความจริง เป็นสุดยอดของความเป็นจริง เซอเรียลิสม์ได้วิวัฒนาการมาจากพวกดาดาอิสม์ในเรื่องราวของการมองความจริงอันพิสดาร ศิลปินมองเห็นว่าโลกความเป็นจริงที่เห็นอยู่เป็นภาพมายาทั้งหมด (แต่กลับเห็นความฝันเป็นเรื่องจริง ออกจะสับสนอย่างไรไม่รู้)

นี่เป็นการเคลื่อนไหวของศิลปะแบบหนึ่ง ที่มีความคิดพ้องตามทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก ซึ่งเราฝังความอยากอันมิได้ขัดเกลาเอาไว้ จนเกิดทำให้รู้สึกว่าความป่าเถื่อนยังมิได้หายไปจากมนุษย์ หากแต่หลบอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

งานเซอร์เรียลิสม์มีความสำคัญอยู่ที่ การแสดงออกของจิตใต้สำนึกอย่างอิสระ

ปราศจากการควบคุมของเหตุผล มีความฝันและอารมณ์ จินตนาการ ค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางกามวิสัย หลักการของเซอร์เรียลิสม์ คือ จินตนาการเป็นส่วนสำคัญของการแสดงออก จินตนาการ คือ จิตไร้สำนึก และจิตไร้สำนึกเป็นภาวะของความฝัน ที่มีขบวนการต่อเนื่องกันซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะได้ สิ่งที่เราเห็นจากโลกภายนอกขณะตื่น เป็นเพียงปรากฏการทางการแทรกแซง

ความงามของพวกเขาคือ ความมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์เพียงอย่างเดียวที่สามารถสร้างศิลปะให้สมบูรณ์ได้ และยังให้ความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความหมายต่อความรู้สึกของมนุษย์

ศิลปะ ซูพรีมาตีสม์

รูปสี่เหลี่ยมสีขาว บนพื้นจัตุรัสสีขาว เพียงเท่านี้เองที่ผู้ชมต่างมองเห็น มันคืออะไร ภาพนี้ไม่ได้บอกเรื่องราวใด ๆ เลย ไม่มีสมุด ไม่มีต้นไม้ ไม่มีคน

ซูปรีมาติสม์ เป็นรูปแบบของศิลปะที่แสดงความรู้สึกบริสุทธิ์อย่างสูงส่ง ปรากฏเป็นศิลปะที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์ ไม่คำนึงถึงรูปร่างแท้จริงของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา แต่คำนึงถึงความรู้สึกของวัตถุนั้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ เมื่อไม่คำนึงถึงรูปร่าง เห็นว่ารูปร่างนั้นไม่แน่นอน การเขียนภาพจึงยึดบริเวณว่างเป็นหลัก เรื่องราวที่แสดงจะเกี่ยวกับอวกาศ แรงดึงดูด แม่เหล็กไฟฟ้า เรขาคณิต ทิศทาง และลักษณะพื้นผิว

Kashmir Malevich เป็นศิลปินผู้วางแนวทาง เขาวางทฤษฎีไว้ว่า กำหนดวิธีเขียน และกรรมวิธีอื่น ๆ อยู่ในรูปทรงเรขาคณิตแบบง่าย เช่นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือกากบาท ศิลปินยึดหลักที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในโลก ไม่มีความหมายในตัวเองเลย จุดสำคัญส่วนใหญ่คือ ความรู้สึกของผู้ดูเมื่อพบสิ่งต่าง ๆ ในโลกรอบ ๆ ตัวต่างหาก ความรู้สึกนี้จะปรากฏเด่น สร้างความคิดสร้างสรรค์ สะเทือนใจมนุษย์มากกว่ารูปร่างของวัตถุนั้นๆ

ศิลปะสมัยก่อน เป็นศิลปะที่สอนคนส่วนใหญ่ มีความมุ่งหมายเพื่อสนองความไม่อุ่นใจของมนุษย์ แต่ซูปรีมาติสม์เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความรู้สึก ซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลจะพึงใช้ความรู้สึกของตนสร้างความสดชื่นให้ชีวิต

ดังนั้นภาพ Suprematism ผู้ชมต้องปล่อยความคิดให้มีอิสรเสรี สร้างความรู้สึกร่วมไปกับมัน

การตีความภาพนั้นขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาและประสบการณ์ของตน ผู้ชมจะไม่ถูกบังคับให้ต้องเห็นอย่างที่ศิลปินอยากให้เห็น ศิลปินจะปล่อยให้ผู้ชมมองเห็นได้อย่างเสรีโดยไม่มีการครอบงำความคิดจากรูปทรงวัตถุ



ศิลปะ ป๊อป อาร์ต

ศูนย์กลางความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่ที่ยุโรปยาวนานร่วม ๆ พันปี นับตั้งแต่ยุคกลางมา แต่พอมาถึงศตวรรษที่ 20 ฝั่งเอมริกาก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ และวัฒนธรรมของอเมริกาก็ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลกอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูด เป็นสื่อนำ ภาพยนตร์นี้ก่อให้เกิดดารา แฟชั่น การโฆษณา และเพลงประกอบ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนรุ่นใหม่ไปทั่วทั้งโลก

ป็อบอาร์ตถือกำเนิดขึ้น ป็อบอาร์ต เป็นแบบอย่างของศิลปะที่สะท้อนพลังสภาพแท้จริงของสังคมปัจจุบัน ตามความรู้สึกความเข้าใจของสามัญชนทั่วไป ในชั่วขณะหนึ่ง เวลาหนึ่ง เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับความชุลมุนวุ่นวายของสังคม พลุ่งประดุจพลุ ชอบวันนี้ พรุ่งนี้ลืมอะไรทำนองนี้

กลุ่มศิลปินที่สร้างสรรค์งานชนิดนี้เชื่อว่า ศิลปะสร้างขึ้นจากสิ่งสัพเพเหระ ของชีวิตประจำวัน เป็นการแสดงความรู้สึกของประสบการณ์ที่พบเห็นของศิลปินในช่วงเวลานั้น ขณะนั้น ณ ที่แห่งนั้น

เรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอมีแตกต่างกันไป เช่นบางคนเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ดารายอดนิยม บ้างก็เขียนเรื่องเครื่องจักร บ้างก็เขียนภาพโฆษณา เรื่องง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัวจึงทำให้หลาย ๆ คนเห็นว่างานแนวนี้ไม่ควรค่าแก่คำว่าศิลปะ เพราะมันเป็นความนิยมแค่ชั่ววันชั่วคืน ตื่นเต้นฮือฮาพักหนึ่งก็จางหาย

อย่างไรก็ตามกลุ่มที่นิยมในแนวนี้ก็ยังคงยืนยันว่ามันคือศิลปะ เขาอ้างว่า สิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะแน่นอน เพราะผลงานนั้นกระตุ้นให้เราตอบสนองทางความรู้สึกอย่างนั้น ที่จริงแล้ว สิ่งที่เรารู้ว่าเป็นศิลปะ คือ สิ่งที่ศิลปินสร้างสรรค์ พวกเขามีความเชื่อเกี่ยวกับสุนทรียภาพว่า สุนทรียภาพ คือความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับสภาพต่าง ๆ ที่ปรากฏในโลกของอุตสาหกรรม โลกชนบท และโลกเศรษฐกิจ ศิลปินพยายามตอบสนองโลกที่แวดล้อมภายนอกเหล่านี้โดยแสดงความรู้สึกด้วยภาพ ซึ่งใช้วิธีการของแอบแสตรกบ้าง เอ็กซเพรสชั่นนิสม์บ้าง คิวบิสม์บ้างตามความเหมาะสม





ศิลปะ อ๊อป อาร์ต

ศิลปะอ๊อปอาร์ต เป็นศิลปะที่มุ่งถึงสายตา การมองเห็น เรื่องตาเป็นเรื่องสำคัญของศิลปะแบบนี้ การรับรู้ทางตา เป็นปัญหาที่พยายามค้นคว้ากันอยู่เสมอ นักจิตวิทยาบางคนพยายามที่จะทดลองหาข้อเท็จจริงว่า ตาหรือสมองกันแน่ ที่เป็นสื่อกระตุ้นประสาทการรับรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยพยายามที่จะหาข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเห็น การคิด ความรู้สึกและความจำ แต่ก็ไม่สามารถวิเคราะห์ออกจากกันได้ว่าอันไหนสำคัญกว่า

เมื่อยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าตาหรือสมองสำคัญกว่ากัน ศิลปินอ๊อปอาร์ต จึงเลือกเชื่อตามความคิดของตนว่า ตามีความสำคัญกว่า เน้นการเห็นด้วยตา เป็นข้อสมมติฐานในการแสดงออกทางศิลปะ แนวคิดของงานอยู่บนความเชื่อที่ว่า จิตรกรรมประกอบด้วยเส้น และสี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เส้นและสีต้องมีการแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่เลียนแบบธรรมชาติ เส้นและสีต้องมีความกลมกลืนกัน

จิตรกรรมปรากฏบนระนาบผิวหน้าของผ้าใบ ซึ่งเป็นบริเวณที่รวบรวมรูปแบบและความรู้สึกของจิตรกรรม ดังนั้นระนาบผิวหน้าจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติไม่ลอกเลียนวิชา เปอร์สเปคตีฟ (เป็นเรื่องของเส้นสายตาที่มองใกล้ ไกล สิ่งที่อยู่ใกล้ใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลเล็กเป็นต้น) แต่จะต้องรู้สึกตื้นลึกด้วยตัวมันเอง

ศิลปินที่พยายามแสดงความรู้สึกของตนอย่างเสรี จะยึดรูปทรงง่าย ๆ เป็นหลัก ยิ่งง่ายยิ่งเป็นสากล สียิ่งบริสุทธิ์ก็ยิ่งเป็นสากล สีที่บริสุทธิ์คือแม่สีเบื้องต้นที่ไม่ได้เกิดจากการผสมจากสีอื่น

อ๊อปอาร์ตได้รับอิทธิพลจากกลุ่มฟิวเจอริสม์ ซึ่งย้ำเน้นถึงความเคลื่อนไหว ความเร็ว และวิทยาศาสตร์แขนงฟิสิกส์เป็นอันมาก อ๊อปอาร์ดจะเน้นความเคลื่อนไหวของรูปแบบให้เป็นจิตรกรรม โดยวิธีการซ้ำๆกันของส่วนประกอบทางศิลปะ เพื่อให้ผู้ดูตระหนักในความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบศิลปะที่สะท้อนภาพสังคมปัจจุบัน

แบบอย่างของอ๊อปอาร์ดนอกจากจะเป็นจิตรกรรมแล้ว ในวงการอุตสาหกรรมแบบอย่างของออปอาร์ตก็มีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันอยู่มาก ในรูปแบบของลายผ้า การตกแต่ง เวที การจัดร้านต่างๆเป็นต้น

ศิลปะยังคงดำเนินต่อไปอย่างสอดคล้องต่อชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลง คือ นิรันดร์ การจะโหยหาให้อนุรักษ์แต่ของดั้งเดิมอย่างไม่ลืมหูลืมตานั่นเพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ หากจะอนุรักษ์แบบนั้นก็ต้องอนุรักษ์วิถีชีวิตด้วย เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน ศิลปะจะไม่เปลี่ยนได้อย่างไร มันผิดหลักธรรมชาติของมนุษย์ ปัญหาจึงอยู่ที่จะปรับเปลี่ยนศิลปะไปในทิศทางใด เพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างดีที่สุดต่างหาก



ยุคของศิลปะ


อารยธรรมของมนุษย์ดำเนินมาอย่างยาวนาน มีวิวัฒนาการมาเรื่อย เราอาจจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกทางตัวอักษร แต่ไม่เสมอไป บางยุคบางสมัย ไม่พบหลักฐานในการใช้ตัวหนังสือ บางยุคก็เป็นอักษรโบราณที่คนปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงทำได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ ศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรม เพราะงานศิลปะ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยแท้จริง มนุษย์นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และการตกแต่งประดับประดาเพื่อความสวยงาม หรือแม้กระทั่งความรื่นรมย์

ยุค ก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็คือ ยุคที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ ศิลปกรรมในยุคนี้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางด้านความเชื่อ และสัญชาตญาณ ในระยะแรก ๆ จะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ แล้วต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของตนลงไป

งานทางด้านจิตรกรรมจะปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ มีทั้งรูปมือ รูปคน รูปลายเรขาคณิต แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นรูปสัตว์

ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่จะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น พวกภาชนะใส่ของ ใบมีดที่ทำจากเปลือกหอยน้ำจืด ขวานกำปั้นซึ่งทำจากหิน อาวุธต่าง ๆ ที่ทำจากกระดูกสัตว์ อาทิ ลูกศร ปลายหอก ฉมวก แต่ก็พบรูปแกะสลักหินอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือเพื่อขอบุตร

รูปสลักที่มีชื่อเสียงคือ วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (ออสเตรีย)

วีนัสแห่งเวสโทนิค (เชก)

และวีนัสแห่งลอเซล (ฝรั่งเศส)

สถาปัตยกรรมคงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด น่าฉงนฉงายเป็นที่สุด เพราะไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเพื่ออะไร มีแต่การคาดเดาไปต่างๆนานา สถาปัตยกรรมได้แก่

พวกหินตั้ง (Menhir) เป็นหินก้อนเดียวโดด ๆ วางตั้งอยู่

โต๊ะหิน (Stone hence) ประกอบด้วยหินสองแท่งหรือมากกว่าวางตั้งอยู่ และมีหินก้อนวางพาดอยู่ข้างบน โครงสร้างลักษณะนี้เรียกว่าโครงสร้างแบบวางพาด ซึ่งจะพบได้ในสถาปัตยกรรมในยุคต่อ ๆ มา

หินตั้งล้อม (Stone circle) ประกอบด้วย โต๊ะหินต่อเนื่องกันล้อมเป็นวงกลม

Alignments คือ หินตั้งเรียงกันเป็นแถวยาว

ยุค อียิปต์

ในยุคอิยิปต์มีตัวอักษรใช้กันแล้ว เรียกว่า อักษรภาพ ดังนั้นจึงจัดอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมของชาวอิยิปต์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สร้างขึ้นตามแรงบันดาลใจทางศาสนาและความเชื่อ ศิลปกรรมมีลักษณะมั่นคง ถาวร ดังจะให้คงอยู่จวบจนถึงวันสิ้นโลกอะไรอย่างนั้น ยุคนี้มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมาก คงไม่มีใครไม่รู้จักปิรามิด ปิรามิดที่พบมักจะสร้างเพื่อเก็บสมบัติและพระศพของฟาโรห์ ซึ่งก็คือผู้ปกครองประเทศนั่นเอง (มีนักวิชาการบางท่านบอกว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของปิรามิดไม่ได้มีไว้เพื่อฝังศพ) แต่ก่อนที่จะมีปิรามิดนั้นยังมี มาสตาบา มาก่อน และนี่แหละคือที่ฝังศพที่เก่าแก่ที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นปิรามิด นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ วิหารสร้างตามภูเขา และใช้โครงสร้างแบบวางพาด

ด้านประติมากรรมก็เป็นรูปแกะสลักรูปบุคคลที่เคารพนับถือ ทำไว้เพื่อเคารพบูชา จะใช้วัสดุที่ทนทานมีคุณค่า ส่วนงานทางด้านจิตรกรรมก็เป็นงานตกแต่งสุสานฝังศพ ทั้งบนหีบศพและตามผนังต่างๆ แสดงเรื่องราวพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะการจัดวางภาพคนจะแสดงให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างในเวลาเดียวกัน คือ เห็นลำตัวด้านหน้า แต่ใบหน้า แขน ขา แสดงให้เห็นด้านข้าง อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของศิลปะอิยิปต์ ชนชาวอิยิปต์มีความสามารถในการประดิษฐ์ตกแต่งเครื่องประดับ รู้จักทำน้ำยาเคลือบ รู้จักลงยา และนำลวดลายตามธรรมชาติมาดัดแปลง ประกอบอย่างเหมาะสม

ยุค เมโสโปเตเมีย

อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ประกอบด้วยชนชาติ ซูเมอเรียน บาบิโลเนีย แอสสิเรีย และเปอร์เซีย ตามลำดับ เริ่มจากซูเมอเรียนและบาบิโลเนีย ชนกลุ่มนี้เป็นพวกที่วางรากฐานความเจริญด้านวัฒนธรรมไว้มากมาย พวกเขารู้จักสร้างกำแพงเมือง (อาจเป็นเพราะมีการสู้รบกันบ่อย) และทำนบกั้นน้ำ มีความสามารถในการเพาะปลูก เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนคือแอสสิเรีย ส่วนล่างคือบาบิโลน ซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่าตอนบน เนื่องจากในดินแดนแห่งนี้ประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ ต่างความคิด ต่างความเชื่อ จึงมีการสู้รบแย่งชิงอำนาจอยู่บ่อยครั้ง

ศิลปกรรมมีความสอดคล้องกับความเชื่อ พวกเขาเชื่อในอำนาจของพระเจ้าตามธรรมชาติ เคารพดวงดาว แม่น้ำ ปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่หาคำตอบไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลด้วยเหมือนกัน

งานด้านสถาปัตยกรรมมักสร้างให้สูงใหญ่เหมือนภูเขา นิยมประดับแก้วหินในสถาปัตยกรรมนั้น ๆ ด้วย สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นได้แก่ ซิกกูรัตแห่งเมืองอูร์ ประติมากรรมมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องราวกิจกรรมของพระมหากษัตริย์ มีการประดับเปลือกหอย หินสี มีความสามารถในการแสดงออกและเลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสม งานจิตรกรรม เขียนง่าย ๆ ไม่เน้นรายละเอียดไม่มีแสงเงา มีความคล้ายคลึงกับอิยิปต์อยู่เหมือนกันตรงการจัดวาง คือ ภาพหน้าคน แขน ขาจะหันข้างแต่ลำตัวหันด้านหน้า นอกจากนี้พวกเขายังมีอักษรใช้เช่นกัน อักษรของพวกเขาเรียกว่าอักษรลิ่ม

ยุค กรีก

ศิลปกรรมของกรีกจะยึดมั่นในเหตุผลและความสมบูรณ์ของมนุษย์ ต่างจากพวกอิยิปต์และเมโสโปเตเมียที่ใช้ศิลปกรรมไปในทางบูชา เซ่นสรวง เกี่ยวกับศาสนา พวกกรีกถือว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นความงามตามธรรมชาติดุจเช่นเดียวกับภูเขา ต้นไม้ สายน้ำ ดังนั้น ศิลปกรรมของชาวกรีกจึงแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายมนุษย์อย่างชัดเจน งานประติมากรรมภาพคนจะแสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ปราศจากเครื่องนุ่มห่ม

ด้านสถาปัตยกรรม แรก ๆ นิยมเอาไม้มาเป็นวัสดุก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของชาวกรีกจะมีไว้รับใช้สังคมเป็นส่วนมาก เช่น สถานแสดงกีฬา โรงละคร วิหาร ลักษณะการตกแต่งภายนอกได้แก่หัวเสานั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้

1. ดอริค มีลักษณะใหญ่ ทรงป้อม

2. ไอโอนิค ลักษณะชะลูด ทรงสูง

3. โครินเธียน มีลักษณะคล้ายทรงของพืช

งานด้านจิตรกรรมพบได้บนผนังต่างๆ และบนภาชนะ มีลักษณะเด่นๆคือ
1. แสดงความรู้สึกตื้นลึกด้วยการเขียนซ้อนกัน
2. ใช้สีจำกัดและแบน
3. ใช้ลวดลายประกอบกิจกรรมรูปคน
4. เรื่องราวของภาพประกอบในไหเป็นเรื่อง อิเลียดและโอดิสซี แบ่งเป็นตอนๆ
5. นิยมใช้สีดำและสีแดงเขียนด้วยน้ำยาเคลือบ
6. ลักษณะง่าย ชัดเจน

ยุค อีทัสคัน และโรมัน
อิทรัสคัน เป็นชนชาติที่อยู่บนแหลมอิตาลี พวกเขามีความเป็นนักรบชั้นยอดในขณะเดียวกันก็เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมด้วย ลักษณะงานทางสถาปัตยกรรมนิยมวางผังเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมง่าย ๆ ใช้โครงสร้างแบบวางพาด (อีกเช่นเคย) มีการนำอิฐมาก่อสร้าง มีการสร้างท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ ภายหลังพัฒนาจนมีประตูโค้ง เพดานโค้ง มีการเปลี่ยนแปลงหัวเสามาเป็นแบบของตัวเอง เรียกว่า ทัสคัน

งานประติมากรรมมีการเน้นส่วนละเอียด เน้นรูปทรงตามวัสดุ ชำนาญการหล่อโลหะโดยเฉพาะโลหะสำริด ส่วนงานด้านจิตรกรรมมีลักษณะเป็นสีแบน เขียนตามผนังประดับที่ฝังศพ ได้รับอิทธิพลมาจากกรีก และอิยิปต์

เมื่ออิทรัสคันเสื่อมอำนาจลง พวกโรมันก็เรืองอำนาจและเข้าปกครองแหลมอิตาลีแทน โรมันอาจได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ทางการทหาร แต่ทางด้านศิลปกรรมกลับอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรีกและอิทรัสคัน ศิลปะของพวกโรมันคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยต่อสาธารณชนมากกว่าความงดงาม

สถาปัตยกรรมของพวกเขามีลักษณะโค้ง เป็นโดม รับกับคาน มีการผสมผสานหัวเสาแบบไอโอนิคกับโครินเธียนเข้าด้วยกัน เป็นหัวเสาแบบคอมโพสิท และยังคิดหัวเสาแบบทัสแคน (ซึ่งคล้ายๆกับหัวเสาดอริค) ขึ้นมาอีกด้วย

พวกเขามีโฟรุม คือจัตุรัสที่พบปะและสังสรรค์ของประชาชนทางกฎหมายและธุรกิจต่าง ๆ

มีบาสิลิกา เป็นอาคารขนาดใหญ่ ใช้เป็นศาลยุติธรรมหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ

มีโคลอสเซียม เป็นสนามกีฬา มีโรงละคร และสถานที่อาบน้ำ มีการสร้างท่อลำเลียงน้ำ มีประตูชัย สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือ วิหารแพนธีออน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้าโรมัน

ประติมากรรมของโรมันมีความสำคัญในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความรู้สึกบนใบหน้าคนจะแสดงออกได้ดีกว่ากรีก แต่โดยภาพรวมทั้งหมดงานของกรีกจะดูสมบูรณ์แบบกว่า งานทางด้านจิตรกรรมใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรม มีทั้งภาพระบายสีและงานประดับโมเสค มีการสร้างภาพลวงให้มีระยะใกล้ไกล มีแสงและเงา

ยุค กลาง

ยุคกลางนี้บางครั้งก็จะเรียกว่า ยุคมืด นั่นเพราะว่ายังไม่ได้มีการค้นพบลักษณะเด่นๆมากนัก สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงคือ วิหารเซนต์มาร์ติน ในฝรั่งเศส ซึ่งแสดงว่ายังใช้โครงสร้างแบบวางพาดอยู่ สถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนบุคคลมักจะสร้างให้ใหญ่โต มีกำแพงสูงและหนา มั่นคงแข็งแรง พยายามสร้างความสมบูรณ์ของชีวิตมากที่สุด

ด้านประติมากรรมสร้างเพื่อตกแต่งผนัง ไม่นิยมสัดส่วนตามธรรมชาติ ด้านจิตรกรรมยังคงเป็นภาพผนัง มีภาพคนเหมือนบ้าง และมีการจัดทำเอกสารประกอบภาพเขียนระบายสีอย่างงดงาม ยุคกลางนี้ บ้างก็แบ่งสมัยตามกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครอง เป็นสมัยคาโรลิงเจียน สมัยออตโตเนียน และสมัยโรมาเนสค์

ยุค โกธิค

นักวิจารณ์ในยุคฟื้นฟูเห็นว่ายุคนี้เป็นความต่ำต้อย ขาดรสนิยมทางศิลปะ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกรีก และโรมัน แต่พวกศิลปินเห็นว่านี่เป็นศิลปะแบบใหม่ที่มีแบบเฉพาะของตัวเอง เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม

สถาปัตยกรรมนิยมสร้างให้มีรูปทรงสูงชะลูด ใช้โค้งหลังคาแบบต่าง ๆ เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักของหลังคาลงบนเสา และผนัง ประติมากรรมส่วนใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบสถาปัตยกรรมอีกที เป็นเรื่องราวทางศาสนาและมีลักษณะสูงชะลูด เป็นแบบลอยตัวยื่นออกมาจากผนังหรือกำแพง

งานจิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นการเขียนภาพประกอบหนังสือ และที่โดดเด่นเห็นจะเป็นการเขียนภาพบนกระจกสี เรียกว่า Stained glass ประดับบริเวณเหนือประตู หน้าต่าง เพื่อให้แสงส่องผ่าน งานจิตรกรรมในยุคนี้ใช้สีสดใส สว่าง มีลายเส้นวิจิตร และมีองค์ประกอบง่าย ๆ แต่ดึงดูดใจมาก

สมัย ฟื้นฟู

ในยุคนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่อิตาลี เป็นการนำศิลปะของกรีก และโรมันมาปัดฝุ่นใหม่ อีกทั้งยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการด้านอื่นๆทุกแขนง ด้วยความเชื่อที่ว่า มนุษย์คือศูนย์กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล และถือว่าคุณค่าของมนุษย์อยู่ที่ความรู้ ความคิด ความสามารถของตนเอง

สถาปัตรยกรรมนำเอาหลังคาโค้ง เสาแบบต่าง ๆ ของกรีกมาปรับปรุง ทำให้มีลักษณะเฉพาะขึ้น ประติมากรรมก็เช่นเดียวกัน และมักสร้างขึ้นประกอบสถาปัตยกรรม

จิตรกรรมสมัยนี้เน้นเรื่องราวของชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภาพคนจะมีความโดดเด่นเป็นประธานของภาพ ด้านหลังอาจจะเป็นภาพภายในตัวอาคาร หรือไม่ก็ภูมิประเทศ มีการใช้แสงเงาที่เหมือนจริง เก็บรายละเอียดของพื้นผิวต่าง ๆ ประณีตงดงาม

ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้แก่ Davinci , Michelangelo , Raphael เรียกว่า เป็นสามยอดอัจฉริยบุคคลที่เกิดมาร่วมเมืองร่วมสมัยเดียวกัน

สมัย บารอค

ศิลปะแบบบารอคจะเน้นหนักไปทางธรรมชาติ แสดงความอ่อนไหว มีลวดลายประดิษฐ์มาก ซับซ้อน

คำว่า บาโรค มาจากภาษาโปรตุเกส ที่แปลว่า รูปร่างของไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะงานสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมที่มีการตกแต่งประดับประดา และให้ความรู้สึกอ่อนไหว

หลังจากบารอคก็มีศิลปะแบบ รอคโคโค ตามมา มีลักษณะคล้ายคลึงกับบาโรคเพียงแต่เน้นที่ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น จิตรกรที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ รูเบนส์ , เรมบรานด์ , เวลาสเควซ เป็นต้น

ศิลปะในแบบบาโรค และรอคโคโคนั้นใกล้เคียงกันมาก มีบางคนได้เปรียบเปรยว่า ถ้าบาโรคเหมือนกับบุรุษเพศที่มีความองอาจ สง่างาม รอคโคโคก็เหมือนกับสตรีเพศที่มีความงดงามที่นุ่มนวลและอ่อนช้อย คำกล่าวนี้คงจะพอทำให้เข้าใจถึงศิลปะทั้งสองแบบได้ดียิ่งขึ้น

สมัย คลาสสิก

ในสมัยคลาสสิก เป็นยุคที่ยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมีสงครามเป็นแรงผลักดัน ในทางปรัชญาถือว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งเหตุผล (แม้ว่าหลาย ๆ คนจะเห็นว่าสงครามเป็นเรื่องไร้เหตุผลก็ตาม)

ดังนั้นงานศิลปะในยุคนี้จึงเป็นงานที่เน้นทางด้านเหตุผลด้วยเช่นกัน

Jacques Louis David จิตรกรผู้ที่ถือว่าเป็นผู้นำในศิลปะคลาสสิกนี้ กล่าวไว้ว่า ศิลปะคือดวงประทีปของเหตุผล ลักษณะงานต้องมีความถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีความคิดสร้างสรรค์ตามเรื่องราวที่มีเหตุผล ให้ความสำคัญกับการจัดภาพ

สมัยโรแมนติก

แนวความคิดของศิลปะโรแมนติกนั้นต่างจากพวกคลาสสิกกันคนละขั้ว เพราะโรแมนติกยึดมั่นในเรื่องของจิตใจ ถือว่าจิตเป็นตัวกำเนิดของตัณหา อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นความจริงของมนุษย์มากกว่าการยึดมั่นในเหตุผลตามแนวคิดของคลาสสิก พวกศิลปินเชื่อว่า ศิลปะสร้างสรรค์ตัวของมันเองได้ และต้องมีคุณค่าทางอารมณ์มากกว่าเหตุผล

ศิลปะต้องสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เสพและผู้สร้าง มุ่งสร้างศิลปะเพื่อให้กลมกลืนกับชีวิต มุ่งที่ความ"กลายเป็น"ตัดกับความ"เป็นอยู่"

งานทางด้านจิตรกรรมจะแสดงความตัดกันของน้ำหนักแสงและเงา ใช้สีที่ตัดกัน จิตรกรที่สำคัญได้แก่ Theodore Gericault , Eugene Deracroix ในงานจิตรกรรมนี้เป็นช่วงเวลาระหว่างค.ศ.1820-1850

สมัย เรียลลิสม์

ศิลปะมักเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลมกลืนกับสภาพชีวิตในแต่ละยุคสมัย

ศิลปะคลาสสิก และโรแมนติก ยังคงยึดแนวของกรีกและโรมันอยู่ไม่น้อย

ศิลปินรุ่นหลังเห็นว่า ศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต ยังคงลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ หาใช่ความจริงไม่

ดังนั้นการสร้างงานในยุคต่อมา ซึ่งเราเรียกกันว่า เรียลลิสม์ นั้น จึงสร้างงานตามสภาพความเป็นจริงศิลปินเชื่อว่าความงามอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในที่เลิศหรูเช่นพระราชวัง หรือที่เรียบง่ายตามชนบทก็ตาม อีกทั้งยังเชื่อกันว่าศิลปะนั้นสอนกันไม่ได้ เพราะศิลปะเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ศิลปะ คือ การเลียนแบบตามตาเห็น ศิลปินควรบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในยุคสมัยของตนเอาไว้ ไม่ใช่สร้างงานแบบโบราณนิยม (ถือว่าเป็นการปฏิเสธแนวคลาสสิกและโรแมนติคอย่างเห็นได้ชัด)

ศิลปินอย่าง โกยา อยู่ในช่วงรอยต่อของโรแมนติก และเรียลลิสม์ งานของเขาแสดงออกทั้งความเป็นจริงและแสดงออกถึงความสะเทือนอารมณ์ (โรแมนติก) ไปพร้อม ๆ กัน โกยาให้ทัศนะคติไว้ว่า ในธรรมชาติไม่มีใครเห็นเส้น มีแต่รูปทรงที่สว่างและมืด ระนาบใกล้ ไกล กลวง และยื่นโปนออกมา ทัศนะเช่นนี้จะปรากฏได้ชัดในงานยุคหลังถัดจากนี้ไป

เนื่องด้วยในช่วงเวลานี้ยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจและสังคม ชนชั้นกรรมาชีพก็เพิ่มมากขึ้น ศิลปินจึงสะท้อนภาพความลำบากของชนชั้นเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้แก่ โดมิเยร์ , มิเลท์ , กูร์เบท์

สมัย อิมเพรสชั่นนิสม์

งานเรียลลิสม์ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ลามไปเหมือนไฟลามทุ่ง จนกลายเป็นแฟชั่นที่นิยมกันทั่วไปจนดูเฟ้อ ในขณะที่คนกำลังเริ่มเบื่อหน่ายพลันเกิดศิลปะแนวใหม่ขึ้นมา นั่นคือ ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นศิลปะที่เขียนภาพทิวทัศน์ได้อย่างสมจริงสมจังที่สุด กล่าวคือ สามารถสะท้อนบรรยากาศ เวลา ความเคลื่อนไหวของผิวน้ำ อากาศ ออกมาได้เป็นอย่างดี แต่เทคนิคในการเขียนนั้นหยาบกระด้าง โชว์ฝีแปรงให้เห็นชัด ๆ โดยไม่มีการเกลี่ย ต่างจากการเขียนรูปในแบบเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง จนหลาย ๆ คนปรับตัวรับไม่ทัน

อิมเพรสชั่นนิสม์ได้เข้าถึงจุดสุดยอดของเรื่องแสง ก่อนหน้านั้น ศิลปินจะสร้างภาพให้มีระยะตื้นลึกโดยใช้เส้นเป็นสื่อนำสายตา แต่ศิลปินกลุ่มนี้เพิ่มเติมมิติของอากาศลงไป พวกเขานำหลักทฤษฎีสี แสงอาทิตย์มาช่วยให้สีมีความกระจ่างสดใสมากขึ้น พวกเขาจะไม่ใช้สีดำ เพราะถือว่าสีดำไม่มีในธรรมชาติ เน้นรูปทรงที่เกิดขึ้นด้วยแสงและเงา รวมทั้งแสงที่สะท้อน และเงาที่ตกทอดด้วย

ศิลปินจะถือธรรมชาติเป็นใหญ่ ขจัดความฝัน จินตนาการหรืออารมณ์ส่วนตัวออกไป ยึดหลักทฤษฎีสี เคารพสีแสงที่อยู่ต่อหน้า พยายามจับแสงสีในอากาศให้ได้สภาพของกาลเวลา มุ่งที่ความประทับใจในฉับพลัน

สมัย โพสท์ – อิมเพรสชั่นนิสม์

หลังจากอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ยังมีโพสท์-อิมเพรสชั่นนิสม์ตามมา ศิลปินกลุ่มนี้ ได้เกิดปฏิกิริยาต่องานอิมเพรสชั่นนิสม์ พวกเขาทำงานตามความคิด ความเชื่อมั่นของตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์หรือจัดเป็นกลุ่ม (ออกจะทะเลาะกันด้วยซ้ำไป) งานแตกต่างกันไปคนละอย่าง

แต่ในความต่างนั้น มีความเหมือนอยู่ที่แนวความคิดในการค้นหา และเน้นความสำคัญของรูปทรงใหม่ ๆ สีทุกสีย่อมมีคุณค่าในตัวของมันเอง ภาพจะต้องมีความเป็นเอกภาพ และที่สำคัญก็คือ มีการแสดงออกของอารมณ์เฉพาะตน

นักวิจารณ์ศิลปะผู้หนึ่งชื่อว่า โรเจอร์ ฟราย ได้กล่าวไว้ว่า ศิลปินกลุ่มนี้ไม่ยอมรับความเชื่อในการเขียนภาพให้มีรายละเอียด หรือการเลียนแบบธรรมชาติ ศิลปินกลุ่มนี้พยายามสร้างรูปทรงใหม่ขึ้นมา โดยที่รูปทรงนั้นมีความสัมพันธ์ต่อชีวิตจริง มีการตัดทอนรูปทรงให้ง่ายขึ้น ภาพทุกภาพแทนที่จะบอกให้ผู้ดูทราบว่าเป็นภาพอะไร อยู่ที่ไหน กลับกระตุ้นผู้ดูให้รู้สึกอย่างไรแทน คล้ายกับมีความรู้สึกคล้อยตามเสียงดนตรีมากกว่าที่จะเข้าใจตามรูปถ่าย (ในสมัยนั้นมีการผลิตกล้องถ่ายรูปแล้ว จริง ๆผลิตมาตั้งแต่ช่วงโรแมนติคตอนปลายนั่นแหละ)

ศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นได้แก่ พอล เซซานน์ (ผู้รับอิทธิพลแนวคิดมาจากโกยาแบบเต็มๆ) , วินเซนต์ ฟาน กอห์ก , พอล โกแกง , ตูลูส โลแตรค

สมัย นีโอ – อิมเพรสชั่นนิสม์

นีโออิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นงานที่เกิดขึ้นจากแนวคิดทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงแสงว่าเป็นทั้งพลังงานและอนุภาค นีโออิมเพรสชั่นนิสม์ใช้แนวคิดที่ว่าแสงเป็นอนุภาค มาสร้างงานในลักษณะการแต้มสีเป็นจุดเล็ก ๆ ลงบนภาพ โดยใช้สีบริสุทธิ์ที่ไม่มีการผสม แต่พวกเขาจะให้สีผสมกันที่สายตาผู้ดู เช่นว่าถ้าต้องการสีเขียว เขาก็จะแต้มสีน้ำเงินกับสีเหลืองคละเคล้ากัน แล้วสีทั้งสองก็จะมาผสมกันเป็นสีเขียวที่สายตาเอง ผู้นำในแนวนี้ได้แก่ จอร์จ เซอราท์
ศิลปินที่ร่วมกลุ่มได้แก่ พอล ซียัค , แมกซีมิเลียน ลูซ , อองรี เอ็ดมองด์ กรอส พวกเขาเชื่อในทฤษฎีของล็อกเคน รูด ที่บอกว่า การผสมสีในดวงตาจะเกิดผลให้ความสว่างสดใสยิ่งกว่าการผสมสีบนจานสี เป็นที่น่าเสียดายที่ศิลปินกลุ่มนี้มีอายุเพียงเจ็ดปี เนื่องจากจอร์จ เซอราท์ผู้นำกลุ่มได้เสียชีวิตลงนั่นเอง



ยุค อียิปต์


ยุค อียิปต์

ในยุคอิยิปต์มีตัวอักษรใช้กันแล้ว เรียกว่า อักษรภาพ ดังนั้นจึงจัดอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมของชาวอิยิปต์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สร้างขึ้นตามแรงบันดาลใจทางศาสนาและความเชื่อ ศิลปกรรมมีลักษณะมั่นคง ถาวร ดังจะให้คงอยู่จวบจนถึงวันสิ้นโลกอะไรอย่างนั้น ยุคนี้มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมาก คงไม่มีใครไม่รู้จักปิรามิด ปิรามิดที่พบมักจะสร้างเพื่อเก็บสมบัติและพระศพของฟาโรห์ ซึ่งก็คือผู้ปกครองประเทศนั่นเอง (มีนักวิชาการบางท่านบอกว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของปิรามิดไม่ได้มีไว้เพื่อฝังศพ) แต่ก่อนที่จะมีปิรามิดนั้นยังมี มาสตาบา มาก่อน และนี่แหละคือที่ฝังศพที่เก่าแก่ที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นปิรามิด นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ วิหารสร้างตามภูเขา และใช้โครงสร้างแบบวางพาด

ด้านประติมากรรมก็เป็นรูปแกะสลักรูปบุคคลที่เคารพนับถือ ทำไว้เพื่อเคารพบูชา จะใช้วัสดุที่ทนทานมีคุณค่า ส่วนงานทางด้านจิตรกรรมก็เป็นงานตกแต่งสุสานฝังศพ ทั้งบนหีบศพและตามผนังต่างๆ แสดงเรื่องราวพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะการจัดวางภาพคนจะแสดงให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างในเวลาเดียวกัน คือ เห็นลำตัวด้านหน้า แต่ใบหน้า แขน ขา แสดงให้เห็นด้านข้าง อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของศิลปะอิยิปต์ ชนชาวอิยิปต์มีความสามารถในการประดิษฐ์ตกแต่งเครื่องประดับ รู้จักทำน้ำยาเคลือบ รู้จักลงยา และนำลวดลายตามธรรมชาติมาดัดแปลง ประกอบอย่างเหมาะสม

ประวัติศาสตร์ศิลปะ


อารยธรรมของมนุษย์ดำเนินมาอย่างยาวนาน มีวิวัฒนาการมาเรื่อย เราอาจจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกทางตัวอักษร แต่ไม่เสมอไป บางยุคบางสมัย ไม่พบหลักฐานในการใช้ตัวหนังสือ บางยุคก็เป็นอักษรโบราณที่คนปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงทำได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ ศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรม เพราะงานศิลปะ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยแท้จริง มนุษย์นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และการตกแต่งประดับประดาเพื่อความสวยงาม หรือแม้กระทั่งความรื่นรมย์

ยุค ก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็คือ ยุคที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ ศิลปกรรมในยุคนี้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางด้านความเชื่อ และสัญชาตญาณ ในระยะแรก ๆ จะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ แล้วต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของตนลงไป

งานทางด้านจิตรกรรมจะปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ มีทั้งรูปมือ รูปคน รูปลายเรขาคณิต แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นรูปสัตว์

ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่จะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น พวกภาชนะใส่ของ ใบมีดที่ทำจากเปลือกหอยน้ำจืด ขวานกำปั้นซึ่งทำจากหิน อาวุธต่าง ๆ ที่ทำจากกระดูกสัตว์ อาทิ ลูกศร ปลายหอก ฉมวก แต่ก็พบรูปแกะสลักหินอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือเพื่อขอบุตร

รูปสลักที่มีชื่อเสียงคือ วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (ออสเตรีย)

วีนัสแห่งเวสโทนิค (เชก)

และวีนัสแห่งลอเซล (ฝรั่งเศส)

สถาปัตยกรรมคงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด น่าฉงนฉงายเป็นที่สุด เพราะไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเพื่ออะไร มีแต่การคาดเดาไปต่างๆนานา สถาปัตยกรรมได้แก่

พวกหินตั้ง (Menhir) เป็นหินก้อนเดียวโดด ๆ วางตั้งอยู่

โต๊ะหิน (Stone hence) ประกอบด้วยหินสองแท่งหรือมากกว่าวางตั้งอยู่ และมีหินก้อนวางพาดอยู่ข้างบน โครงสร้างลักษณะนี้เรียกว่าโครงสร้างแบบวางพาด ซึ่งจะพบได้ในสถาปัตยกรรมในยุคต่อ ๆ มา

หินตั้งล้อม (Stone circle) ประกอบด้วย โต๊ะหินต่อเนื่องกันล้อมเป็นวงกลม

Alignments คือ หินตั้งเรียงกันเป็นแถวยาว

ศิลปะแบบโรแมนติก หรือจินตนิยม ( Romanticism )

เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม

สถาปัตยกรรม นำรูปแบบในอดีตมาดัดแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากแบบโกธิก
ประติมากรรม เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น
รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย ในกรุงปารีส
รูปปั้นสัตว์ มักเป็นรูปสัตว์ป่าสองตัวต่อสู้กัน
จิตรกรรม ใช้ สี เส้น แรเงา รุนแรงมุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่น
ภาพ “อิสรภาพนำประชาชน” ( Liberty Leading the People )
ภาพ “แพของเมดูซา” ( Raft of Medusa )
ดนตรี มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจ เช่นความรู้สึกชาตินิยม นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงคือ เบโทเฟน ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 9” และ ปีเตอร์ อิลยิช ไชคอฟสกี ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 6” เป็นเพลงประกอบบัลเลต์เรื่อง Swan Lake

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักร

1.2 ประเทศแรกที่บุกเบิกคืออังกฤษโดยอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ คือ อุตสาหกรรม การทอผ้า
เครื่องจักรกลไอน้ำ ของ เจมส์ วัตต์

เจมส์ วัตต์

2.การเกิดแนวความคิดทางการเมือง และเศรษฐกิจแบบใหม่

- การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีนักปราชญ์ที่เสนอแนวคิด ดังนี้

จอห์น ล๊อค ชาวอังกฤษกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและ มีอิสระไม่มี ผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจในการคุกคามชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้อื่นได้

มองเตสกิเออ ชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือเรื่อง เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ( The Spirit of Laws ) เสนอความคิดการแบ่งแยกอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เขาเชื่อว่าหากแยกอำนาจสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง แต่ถ้าอำนาจทั้ง 3นี้รวมกันอยู่ในองค์การเดียวกัน อาจจะทำให้เกิดการกดขี่ประชาชน

วอลแตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นนักคิดและมีผลงานด้านการเขียนมากมายให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา ต่อต้าน ความอยุติธรรมในสังคม แต่ในด้านการเมืองไม่เคยแสดงความคิดเห็น อย่างชัดเจน จึงไม่มีทฤษฎีการเมืองที่แน่นอน

รุสโซ ชาวฝรั่งเศส ผลงานหนังสือที่สำคัญคือ สัญญาประชาคม ( The Social Contract ) ข้อความที่จับใจคนเป็นจำนวนมากคือ “มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ แต่ทุกหนทุกแห่งเขาถูกพันธนาการ” รุสโซ เน้นเรื่องเจตจำนงร่วมกันของประชาชน( General Will ) เขาได้รับสมญาว่า “เจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตย”

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

ปัญญาชนชาวตะวันตกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ทำให้วิทยาการความรู้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เกิดจากแนวความคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาว กรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ สติปัญญาของมนุษย์สามารถนำมนุษย์ไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก

2. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลอง จนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)

นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาล ที่มีสาระสำคัญคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความคิดของโคเปอร์นิคัส เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ ( Telescope ) ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น

เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบ 2 ทฤษฎีคือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาล และกฎแห่งความโน้มถ่วง

ยุโรปเข้าสู่ยุคการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

ยุคกลาง มีการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและตะวันออกกลาง โดยอิตาลีได้เปรียบประเทศอื่น สามารถควบคุมเส้นทางการค้าเกือบทั้งหมด ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา พยายามทำลายการผูกขาดนี้ ประจวบกับชาวยุโรปส่วนหนึ่ง เบื่อชีวิตที่อยู่ภายใต้อิทธิพลมืดของสันตะปาปา จึงคิดอพยพไปตายเอาดาบหน้าเพื่ออิสระในการนับถือศาสนา เป็นเหตุหนึ่งในการออกสำรวจแสวงหาเส้นทางการเดินเรือใหม่ และเส้นทางการค้าทางบกของชาวยุโรปกับตะวันออก ตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปต้องการหาเส้นทางการค้าใหม่ก็คือ ค้าขายทางทะเลเท่านั้น การติดต่อของชาวยุโรปและโลกตะวันออกจากการค้า ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆ ของกรีกและมุสลิม หลั่งไหลมาสู่สังคมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตน ตลอดจนเกิดการท้าทายคำสอนศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลางถึงเรื่องโลกแบน ความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นดินแดนที่กว้างใหญ่ ความต้องการสำรวจเส้นทาง โดยเฉพาะทางเรือ จึงเพิ่มขึ้น

3.2.การค้นพบดินแดนทางตะวันออกของชาติตะวันตก

-บาร์โธโลมิว ไดแอส ชาวโปรตุเกสสามารถเดินเรือเลียบทวีปแอฟริกาจนเข้าแหลม กู๊ดโฮม ได้สำเร็จใน ค.ศ.1488

-วาสโก ดา กามา ใช้เส้นทางของไดแอส จนถึงเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่งที่เมืองคาลิกัต ของอินเดียและสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดีย นำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากมาย

-คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีรับใช้กษัตริย์สเปนในการสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา และเป็นผู้เชื่อว่าโลกมีสัณฐานกลม ไม่แบนตามคำสอนของคริสต์ศาสนา ในสมัยกลาง

-เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน ชาวโปรตุเกส รับอาสากษัตริย์สเปน หาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกจนสามารถเข้าฟิลิปปินส์แต่เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตาย แต่ลูกเรือสามารถนำเรือกลับมาสเปนได้

ยุคนี้ได้ชื่อว่ายุคแห่งการค้นพบ ( Age of Discovery ) การค้นพบดินแดนต่างๆทำให้ ฮอลันดา อังกฤษ และต่อมาฝรั่งเศส เข้ามาสร้างอิทธิพลครอบครองดินแดนทางตะวันออก และทำให้เกิด ลัทธิจักรวรรดินิยม

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของยุโรปในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของยุโรปในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่
1.การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) ทำให้ยุโรปกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

2.การสำรวจเส้นทางเดินเรือ โดยมุ่งหมายทางการค้าและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา

3.การเกิดชนชั้นกลาง (พ่อค้า) เข้ามาควบคุมเศรษฐกิจแทนพวกขุนนางในระบบฟิวดัล และสนับสนุนกษัตริย์ ในด้านการปกครอง ทำให้ฐานะกษัตริย์เข้มแข็ง

4.ความก้าวหน้าทางด้านการพิมพ์ มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้และวิทยาการใหม่ๆออกไปอย่างรวดเร็ว

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ไปดูนิทรรศการมา555555
เทศกาลศิลปะ ตาดูมีขา 2012




วัน-เวลา: วันเสาร์ 8 กันยายน 2555 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
กิจกรรม: เปิดงานนิทรรศการ ‘จิตเป็นนาย’ / มินิคอนเสิร์ต / การแสดงสด / อาร์ต แฟร์
สถานที่: หอศิลป์ ตาดูไทยยานยนตร์

ขอเชิญร่วมงานเปิดตัว หอศิลป์ ตาดูไทยยานยนตร์ ด้วยการกลับมา ณ พื้นที่ใหม่บนถนนสุขุมวิท 87 หลังจากห่างหายไปเป็นระยะเวลาถึง 3 ปี ของหอศิลป์ตาดู การกลับมาครั้งนี้จึงมีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมพันธกิจในนาม ‘หอศิลป์ ตาดูไทยยานยนตร์’ ทั้งในด้านการจัดนิทรรศการศิลปะ การกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลงานของศิลปิน การเผยแพร่การศึกษาด้านศิลปะ รวมถึงการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อให้ศิลปะ วัฒนธรรม และสังคม ทำงานสอดคล้องซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น

ทางหอศิลป์ฯจึงได้จัด เทศกาลศิลปะ ตาดูมีขา 2012 ขึ้น ซึ่งมีกำหนดการเปิดใน วันที่ 8 กันยายน 2555 โดย คุณวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการบริหารไทยยานยนตร์กรุ๊ปให้เกียรติเป็นประธานเปิด และนอกจากจะเป็นงานเปิดตัวหอศิลป์ฯแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย อาทิ งานเปิดนิทรรศการ ‘จิตเป็นนาย’ โดยศิลปิน อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ วิทยา จันมา งานมินิคอนเสิร์ต ประชันกันระหว่าง Happy Band และ รำวงบ้านบาตร โดยชาวบ้านในชุมชน การแสดงสด โดย กั๊ก วรรณศักดิ์ ศิริหล้า บีฟลอร์ กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว น้ำมนต์ และ กิจกรรม อาร์ต-แฟร์ ซึ่งทางหอศิลป์ ตาดูไทยยานยนตร์ จะเปิดรับสมัคร ศิลปิน ดีไซเนอร์ และผู้สนใจ เข้าร่วมปล่อยของซึ่งเป็นผลงานศิลปะทุกแขนง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของผลงานระหว่าง ศิลปิน ผู้ชม และนักสะสมผลงานศิลปะ

ในช่วงระหว่างนิทรรศการ ‘จิตเป็นนาย’ ยังมีกิจกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เสวนาโดยศิลปิน การฉายภาพยนตร์สั้นพร้อมเสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ

รายละเอียดของนิทรรศการ
‘จิตเป็นนาย’
มัลติมีเดีย และ วีดีโอจัดวาง
ศิลปิน: อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ วิทยา จันมา
วัน: วันที่ 8 กันยายน – 31 ตุลาคม 2555
เวลาทำการ: จันทร์-เสาร์ 9-18 น. เว้นวันหยุดราชการ
สถานที่: หอศิลป์ ตาดูไทยยานยนตร์

ในบริบทสังคมที่มีความพยายามต่อการขับเคลื่อนโลก มีการคิดค้นและสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น เช่น ทฤษฎีด้านกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเจาะประเด็นเรื่องจิตวิญญาณ (ไม่ใช่เรื่องผีสาง) ซึ่งหากสามารถสื่อสารกับผู้คนในระดับจิตใจได้ การหมุนของโลกก็อาจเคลื่อนไปตามทิศทางของผู้มีอิทธิพลเหล่านั้น

ในนิทรรศการ ‘จิตเป็นนาย’ ศิลปินได้หยิบยกประเด็นทางศาสนา นำมาแปรรูปผ่านสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสื่อสารให้สอดคล้องกับโลกศิลปะ โดยการพูดถึง Human Spirit เพื่อตอกย้ำให้คนในสังคมได้ตระหนักรู้และตื่นตัว เกี่ยวกับการเจาะเข้าไปถึงระดับจิตใจของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน อันมีทีท่าว่าจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน ผ่านกระบวนการทางสื่อที่รุมเร้า ผ่านเนื้อหาที่พร้อมจะฝังเข้าไปในจิตใจ และอาจปลุกให้เราเปลี่ยนตัวตน ไปในรูปแบบต่างๆ

ความสนใจร่วมกันระหว่างศิลปินต่างรุ่นผ่านผลงานมัลติมีเดียในนิทรรศการนี้ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ มุ่งเน้นที่เนื้อหาของสื่อที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ มีการตีความเกี่ยวกับเนื้อหาด้านพระพุทธศาสนา อารมณ์ และความรู้สึก ผนวกกับการที่มนุษย์มักมีความยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ปฏิสัมพันธ์ของผลงานชวนให้ผู้ชมเกิดการตีความและสำรวจตนเองจากภายใน วิทยา จันมา ท้าทายและหลอกล่อผู้ชมให้มีส่วนร่วมกับผลงาน ด้วยการสร้างมายาภาพแห่งโลกเสมือนจริง ผ่านสิ่งสัมผัสสมมติ เช่น รูป แสง เสียง และเวลา ให้ผู้ชมตั้งคำถามกับโลกที่เป็นอยู่ในกาลเวลา เพื่อการค้นหาความหมายของการมีชีวิต และการทำเพื่อความฝันที่มนุษย์อาจพร้อมแลกกับทุกสิ่ง

หอศิลป์ ตาดูไทยยานยนตร์
2225 ชั้นสอง อาคารไทยยานยนตร์ สุขุมวิท 87 ถนนสุขุมวิท บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10250
โทร. คุณปิยมาศ 0-2311-4953
อีเมล: tadumeekha@gmail.com
Facebook Page : TADU Art Page

นิทรรศการศิลปะ 2555

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะกรีก

ศิลปะกรีก

ศิลปกรรมขอ งกรีกจะยึดมั่นในเหตุผลและความสมบูรณ์ของมนุษย์ ต่างจากพวกอิยิปต์และเมโสโปเตเมียที่ใช้ศิลปกรรมไปในทางบูชา เซ่นสรวง เกี่ยวกับศาสนา พวกกรีกถือว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นความงามตามธรรมชาติดุจเช่นเดียวกับภูเขา ต้นไม้ สายน้ำ ดังนั้น ศิลปกรรมของชาวกรีกจึงแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายมนุษย์อย่างชัดเจน งานประติมากรรมภาพคนจะแสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ปราศจากเครื่องนุ่มห่ม
ด้านสถาปัตยกรรม แรก ๆ นิยมเอาไม้มาเป็นวัสดุก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของชาวกรีกจะมีไว้รับใช้สังคมเป็นส่วนมาก เช่น สถานแสดงกีฬา โรงละคร วิหาร

ลักษณะการตกแต่งภายนอกได้แก่หัวเสานั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
1. ดอริค มีลักษณะใหญ่ ทรงป้อม
2. ไอโอนิค ลักษณะชะลูด ทรงสูง
3. โครินเธียน มีลักษณะคล้ายทรงของพืช


งานด้านจิตรกรรมพบได้บนผนังต่างๆ และบนภาชนะ มีลักษณะเด่นๆคือ
1. แสดงความรู้สึกตื้นลึกด้วยการเขียนซ้อนกัน
2. ใช้สีจำกัดและแบน
3. ใช้ลวดลายประกอบกิจกรรมรูปคน
4. เรื่องราวของภาพประกอบในไหเป็นเรื่อง อิเลียดและโอดิสซี แบ่งเป็นตอนๆ
5. นิยมใช้สีดำและสีแดงเขียนด้วยน้ำยาเคลือบ
6. ลักษณะง่าย ชัดเจน

ศิลปะเมโสโปเตเมีย

ศิลปะเมโสโปเตเมีย

ผลงานร่วมสมัยกับศิลปะอียิปต์อีกแหล่งหนึ่ง ก็คือดินแดนเมโสโปเตเมีย มีถิ่นกำเนิดในบริเวณที่เรียกว่า ตะวันออกใกล้ (Near East) ได้แก่ บริเวณที่เป็นประเทศ อียิปต์ อิสราเอล ซีเรีย อีรัก อิหร่าน ตุรกี ดินแดนส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย มีความอุดม สมบูรณ์ ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำ เช่น แม่น้ำไนล์ แม่น้ำไทกรีส มีการใช้โลหะบันทึก เรื่องราวบนแผ่นดินเหนียว เป็นอักษรคล้ายรูปลิ่ม เรียกอักษรคูนีฟอร์ม (Cuniform)
ศิลปะเมโสโปเตเมีย ซึ่งแม้จะมีรูปแบบ เนื้อหาความเชื่อที่แตกต่างกับศิลปะอียิปต์ ในรายละเอียดอยู่บ้าง แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็มิได้มีความขัดแย้งกันชนิดตรงกันข้าม ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างทางสังคม มีลักษณะที่สอดคล้องกันอยู่นั่นเอง
อาณาจักร นี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ประกอบด้วยชนชาติ ซูเมอเรียน บาบิโลเนีย แอสสิเรีย และเปอร์เซีย ตามลำดับ เริ่มจากซูเมอเรียนและบาบิโลเนีย ชนกลุ่มนี้เป็นพวกที่วางรากฐานความเจริญด้านวัฒนธรรมไว้มากมาย พวกเขารู้จักสร้างกำแพงเมือง (อาจเป็นเพราะมีการสู้รบกันบ่อย) และทำนบกั้นน้ำ มีความสามารถในการเพาะปลูก เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนคือแอสสิเรีย ส่วนล่างคือบาบิโลน ซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่าตอนบน เนื่องจากในดินแดนแห่งนี้ประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ ต่างความคิด ต่างความเชื่อ จึงมีการสู้รบแย่งชิงอำนาจอยู่บ่อยครั้ง
ศิลปกรรม มีความสอดคล้องกับความเชื่อ พวกเขาเชื่อในอำนาจของพระเจ้าตามธรรมชาติ เคารพดวงดาว แม่น้ำ ปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่หาคำตอบไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลด้วยเหมือนกัน
งานด้านสถาปัตยกรรมมักสร้างให้สูงใหญ่เหมือนภูเขา นิยมประดับแก้วหินในสถาปัตยกรรมนั้น ๆ ด้วย สถาปัตยกรรมที่ โดดเด่นได้แก่ ซิกกูรัตแห่งเมืองอูร์ ประติมากรรมมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องราวกิจกรรมของพระมหากษัตริย์ มีการประดับเปลือกหอย หินสี มีความสามารถในการแสดงออกและเลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสม งานจิตรกรรม เขียนง่าย ๆ ไม่เน้นรายละเอียดไม่มีแสงเงา มีความคล้ายคลึงกับอิยิปต์อยู่เหมือนกันตรงการจัดวาง คือ ภาพหน้าคน แขน ขาจะหันข้างแต่ลำตัวหันด้านหน้า นอกจากนี้พวกเขายังมีอักษรใช้เช่นกัน อักษรของพวกเขาเรียกว่าอักษรลิ่ม

ศิลปะอียิปต์

ศิลปะอียิปต์

ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมส่วนมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย
ลักษณะงานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบนอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว
ลักษณะงานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลัก ขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็ก มักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพ บนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้า หรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย
ลักษณะสถาปัตยกรรมอียิปต์ใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาว อียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตรพิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญ แห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ.510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมากจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์ และหุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม

ลัทธิสัญลักษณ์นิยมเป็นปฏิกิริยาต่อลัทธิธรรมชาตินิยม (Naturalism) และ ลัทธิสัจจะนิยม (Realism) เป็นขบวนการที่ต่อต้านขบวนการอุดมคตินิยมที่พยายามจับความเป็นจริงอย่างละเอียดละออและพยายามยกระดับความธรรมดาขึ้นมาเหนืออุดมการณ์ ขบวนการเหล่านี้สนับสนุนความคิดทางเจตภาพ (spirituality), ทางจินตนาการ และทางความฝัน ทางที่นำไปสู่สัญลักษณ์นิยมเริ่มด้วยปฏิกิริยา[1] นักเขียนบางคนเช่นยอรีส-คาร์ล อุยสมองส (Joris-Karl Huysmans) เริ่มด้วยการเป็นนักธรรมชาตินิยมก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นนักสัญลักษณ์นิยม การเปลี่ยนแปลงของอุยสมองสมาจากความตื่นตัวในความสนใจทางศาสนาและทางเจตนิยม
ในวรรณคดีขบวนการมีรากฐานมาจาก “ดอกไม้แห่งความชั่วร้าย” (Les Fleurs du mal) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1857 โดยชาร์ลส์ โบเดอแลร์ (Charles Baudelaire). การวิวัฒนาการดำเนินต่อมาโดยสเตฟแฟน มาล์ลาร์เม (Stéphane Mallarmé) และพอล แวร์แลน (Paul Verlaine) ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1860 และ 1870 ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1880 ขบวนการก็แสดงออกด้วยการออกคำแถลงอุดมการณ์และการสร้างความนิยมในหมู่นักเขียนในยุคนั้น งานของเอ็ดการ์ แอลเล็น โป (Edgar Allan Poe) ผู้โบเดอแลร์ชื่นชมและแปลงานเป็นภาษาฝรั่งเศส มีอิทธิพลต่อและเป็นแหล่งของภาพพจน์ต่างๆ สาหรับผู้ติดตามขบวนการนี้
สัญลักษณ์นิยมของศิลปะแตกต่างจากขบวนการทางวรรณกรรมตรงที่ สัญลักษณ์นิยมของศิลปะแตกมาจากทางด้านกอธิคของศิลปะจินตนิยม แต่จินตนิยมเป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยอารมณ์และการมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ และสัญลักษณ์นิยมเป็นศิลปะที่คงที่และขลัง

เอาไว้ดู

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดูสะ

การเรียนศิลปะ

<object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/D9g0f9Lajas?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/D9g0f9Lajas?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

ของจริง

ศิลปะตะวันตก

ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (ปัจจุบันรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย) มีรากฐานมาจากศิลปะของอียิปต์ และกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคโบราณของโลก และพัฒนาขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เป็นต้นแบบของศิลปะสากลในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic)
2. ยุคโบราณ (Ancient Age)
3. ยุคกลาง (Middle Age)
4. ยุคใหม่ (Modern Age)

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 ปี – 4,000 ปี ก่อน ค.ศ.

ศิลปะอียิปต์ (Egyptian Art)

เรื่องราวอารยธรรมของอียิปต์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์ และก่อนราชวงศ์ (Pre-dynastic) ของอียิปต์ ชาวอียิปต์ได้สร้างศิลปวัฒนธรรมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาในด้านคุณธรรม และตอบสนองความเชื่อว่าวิญญาณของคนตายจะกลับคืนสู่ร่างกายใหม่ จึงเป็นมูลเหตุของการทำมัมมี่ (mummy) หีบบรรจุศพทำด้วยหิน สร้างอาคารรูปทรงพีระมิด (Pyramids) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่เมืองกีซา ในกรุงไคโร ภายในพีระมิดเป็นที่บรรจุพระศพกษัตริย์คูฟู (Khufu) ฐานพีระมิดยาวด้านละ 756 ฟุต สูง 481 ฟุต กินเนื้อที่ 32 ไร่ สร้างด้วยหินนักกว่าก้อนละ 2 ตัน จำนวน 2,500,000 ก้อนประมาณว่าใช้กำลังคม 1,000,000 คน ผลัดกันสร้างทั้งกลางวัน และกลางคืน ใช้เวลาราว 20 ปี จึงเสร็จ ภายในห้องพีระมิด นอกจากจะบรรจุพระศพของกษัตริย์แล้ว ยังเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติอันมีค่า ผนังภายในตกแต่งด้วยภาพเขียนสี บรรยายด้วยอักษรโบราณ ทำให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ชาวอียปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี กลับด้านบน

2. ยุคโบราณ (Ancient Age) ประมาณ 1,400 ปี ก่อน ค.ศ. –ค.ศ. 100

ศิลปะตะวันออกใกล้ (Ancient Near Eastem Aft)
อียิปต์พัฒนาอารยธรรมเจริญรุ่งเรื่องสุดขีดในลุ่มแม่น้ำไนล์ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนแถบแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรทีส ได้แก่ดินแดนบางส่วนของประเทศอิหร่าน ซีเรีย จอร์แดน และซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน เรียกว่าแคว้นเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) หมายถึงดินแดนในลุ่มแม่น้ำสองสาย ชนชาติดังกล่าวมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกัน ประเทศที่อยู่ในวัฒนธรรมนี้ได้แก่ สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซิเรียน เปอร์เซีย
ลักษณะศิลปกรรมของสุเมเรียนมีความแตกต่างจากศิลปกรรมอียิปต์ คือ อียิปต์ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนสุเมเรียนใช้อิฐเผาก้อนใหญ่ ๆ มาเรียงกัน ดังนั้นสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงมีอิฐเป็นโครงสร้างหลัก สถาปัตยกรรมของสุเมเรียนที่รู้จักกันมากที่สุดคือวิหารใหญ่เรียกว่า ซิกูรัต (Zigurat) เป็นหอสูงแบบตึกระฟ้า มีทางเดินเป็นบันไดวน เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีทางศาสนา

ศิลปะบาบิโลน อยู่ช่วง 700 ปี ก่อน ค.ศ.
มีสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือสวนลอยแห่งบาบิโลน โดยสร้างสวนให้สูงจากพื้นดิน ใช้อิฐซ้อนกันขึ้นไป วางผังลดหลั่นกันและมีความสลับซับซ้อน ตามซุ้มประตูต่าง ๆ ประดับด้วย ภาพสลักขนาดมหึมา ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกทับถมปรักหักพังไปหมดแล้ว เหลือเฉพาะฐานรากบางส่วนเท่านั้น

ศิลปะอัสซิเรียน อยู่ในช่วง 900 ปี ก่อน ค.ศ.
ศิลปกรรมงานแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นรูปสิงโตกำลังกัดเด็กหนุ่มพบในพระราชวังเมืองนิมรุดในอัสซิเรีย งานชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติซกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ประติมากรรมลอยตัวชิ้นสำคัญที่ติดตั้งตามทางเข้าพระราชวังมีขนาดใหญ่โต เป็นรูปสิงโตมีปีก (Winged Lion) ส่วนงานสถาปัตยกรรมของอัสซิเรียน มีอาคารก่ออิฐเป็นโครงสร้างหลัก เป็นรูปโค้งรับน้ำหนักและใช้อิฐและหินก่อเป็นกำแพง ตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง และกระเบื้องเคลือบเป็นรูปสิงโต

ศิลปะเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อน ค.ศ.
อารยธรรมของเปอร์เซียมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งภายในอย่างสวยงาม มีงานประติมากรรมใช้ในการตกแต่งสถาปัตยกรรม ได้แก่ เสาหินวัวคู่ ประดับพระราชวังที่เมืองเปอร์เซโปลิส (Persepolis)

ศิลปะกรีก (Greek Art)

ชาวกรีกเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อินโด-ยูโรเปียนที่อพยพเคลื่อนย้ายลงสู่แหลมบอลข่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงได้ตั้งหลักที่เป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 รัฐใหญ่ที่สำคัญคือเอเธนส์ และสปาตา ชาวกรีกมีการศึกษาศิลปวิทยาจนมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ปรัชญา และการปกครอง ศิลปกรรมกรีกมีความเจริญสูงสุด เป็นแบบฉบับในทางศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน
ศิลปกรรมของกรีกที่สำคัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว มีความงดงามมากแม้จะสร้างมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ก็ไม่มีที่ติว่าควรจะ แก้ไขข้อบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งของวิหารพาร์เธนอน ภายในวิหารตกแต่งด้วยภาพแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม

งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 1. แบบดอริก (Doric) 2. แบบไอโอนิก (Ionic) 3. แบบคอรินเทียน (Corinthian)

งานทางด้านประติมากรรมของกรีก นิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง (Realistic) โดยเฉพาะสรีระของคนเรา ชาวกรีกถือว่ามีความงดงามยิ่ง ชาวกรีกจึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน (Myron) ประติมากรรมโลหะสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม เป็นรูปเปลือยที่มีส่วนสัดของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างงดงาม

ศิลปะโรมัน (Roman Art)
ศิลปะโรมันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งมีองค์ประกอบที่ประณีต งดงาม แต่ศิลปะของโรมันเน้นความใหญ่โตมโหฬาร มีความหรูหรา สง่างาม มั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมโรมันมีชื่อเสียงมาก โรมันเป็นชาติแรกที่คิดค้นสร้างคอนกรีตได้ สามารถใช้คอนกรีตหล่อขึ้นเป็นโครงสร้างรูปโดมช่วยทำให้การก่อสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น สถาปัตยกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารแพนเธออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) เป็นสนามกีฬารูปกลมรีขนาดใหญ่มหึมาสามารถจุคนดูได้ถึง 50,000 คน นอกจากงานสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว ชาวโรมันยังสร้างสะพานโค้งข้ามแม่น้ำและส่งน้ำข้ามหุบเขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประตูชัย (Arch of Triumph) สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญ และฉลองชัยของทหารโรมัน โดยสร้างเป็นประตูโค้งขนาดใหญ่สำหรับให้ทหารเดินทัพผ่านเมื่อออกสงครามหรือภายหลังได้รับชัยชนะ ประดับด้วยภาพประติมากรรมนูนสูงอย่างสง่างาม
งานประติมากรรมของโรมันมีไม่มาก ส่วนใหญ่ขนย้ายมาจากกรีก มีการสร้างสรรค์ขึ้นเองบ้างแต่เป็นส่วนน้อยนอกนั้นทำเลียนแบบกรีกทั้งหมด ผลงานที่พบในกรุงโรมได้แก่ ภาพเลาคูนกับบุตรชายกำลังถูกงูกัด เป็นผลงานที่นำมาจากกรีก นอกนั้นได้แก่ภาพประติมากรรมของบุคคลสำคัญในยุคนั้น เช่น รูปจูเลียสซีซาร์ รูปจักรพรรดิออกัสตัส รูปจักรพรรดิคาราคัลลา รูปจักรพรรดิเนโร เป็นต้น
งานจิตรกรรมของโรมัน มีการค้นพบภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพดีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันของชาวโรมันนอกนั้นเป็นภาพในเทพนิยาย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ลักษณะของภาพยังมีความงามที่สมบูรณ์ เป็นภาพเขียนสีและประดับด้วยหินสี (Mosaic) อย่างประณีต สวยงาม

ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art) ประมาณ ค.ศ. 455
ศิลปะไบแซนไทน์เป็นศิลปะที่มีลักษณะเชื่อมโยงความคิด และรูปแบบระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศิลปะมีลักษณะใหญ่โต คงทนถาวร ประดับตกแต่งด้วยการใช้พื้นผิว (Texture) อย่างหลากหลาย งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของไบแซนไทน์ คือการทำหลังคาเป็นรูปกลม (Cupula) ต่างจากหลังคาของศิลปะโรมัน ที่ทำเป็นรูปโค้ง (Arch) หลังคากลมแบบไบแซนไทน์ ภายนอกเรียกว่าโดม (Dome) หลังคากลมช่วยให้สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่โตมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบฉบับของศิลปะดังกล่าว ได้แก่ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โบสถ์เซนต์มาร์โค ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี กลับด้านบน

3. ยุคกลาง (Middle Age) ประมาณ ค.ศ. 300 – ค.ศ. 1300

ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิวด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโกติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก

ศิลปะโกติก (Gothic Art)
ศิลปะโกติกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (Realistic Art) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตู หน้าต่าง ช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance Art)
สงครามครูเสดนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุโรปตะวันตกอย่างใหญ่หลวง ระบอบการปกครองแบบศักดินาหมดสิ้นไป แว่นแคว้นต่าง ๆ เริ่มมีความเป็นอิสระ ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่ ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศง 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และโจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)
งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยฟื้นฟู มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม ศิลปินที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างสรรค์งานไว้เป็นอมตะเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)
ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโลชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (Galatea) ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้

ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque and Rococo Art)
คำว่า Baroque และ Rococo ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งานจิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (Realistic) แต่ใช้สีรุนแรงขึ้น งานสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นโค้งมนตกแต่งโครงสร้างเดิม มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม อาคารที่ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะบารอก และรอกโกโก ได้แก่ โบสถ์เซนต์แอกเนส (Church of St. Agnese) โบสถ์เซนต์คาร์โล (Church of St. Carlo) ที่กรุงโรม พระราชวังแวร์ซาย (Versailes palace) ในประเทศฝรั่งเศส โบสถ์ทั่วไปในยุโรปตอนเหนือ เช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี เป็นต้น กลับด้านบน

4. ยุคใหม่ (Modern Age) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)
นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม

ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่ ชาก – ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น

ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)
ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์ ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa) เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่ ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น

ศิลปะแบบเรียลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ โดเมียร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม มาเนต์ (Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่นการประกอบอาชีพ

ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)
กลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์เริ่มเบื่อรูปแบบที่มีหลักความงามแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นสิ่งเชื่อมโยง เน้นด้วยแสง สี บรรยากาศ ศิลปินที่สำคัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แก่ โคลด โมเนต์ (Claude Monet) ซิสเลย์ (Sisley) เดอกาส์ (Degas ปิซาโร (Pissaro มาเนต์ (Manet) เรอนัว (Renoir)

ศิลปะแบบโพสต์ – อิมเพรสชันมิสม์ (Post-Impressionism)
ศิลปะแบบโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์จะไม่เลียนแบบจากสิ่งที่เป็นจริงโดยการสร้างรูปทรงใหม่ แต่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การระบายสีด้วยเทคนิคขีด ๆ จุด ๆ เน้นสี แสง เงาให้เกิดมิติ บรรยากาศ ความงามและความประทับใจ ศิลปินในกลุ่มนี้ ได้แก่ แวนโกะห์ (Van Gogh) มาติส (Matisse) บงนาร์ด (Bonnard เซซาน (Cezanne) โกแกง (Gauguin) เซอราต์ (Seurat)

ศิลปะสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20
ลัทธิโฟวิสซึม เป็นศิลปะที่แสดงออกในเรื่องสีที่สดใสรุนแรงศิลปินที่สำคัญในลัทธินี้ ได้แก่ อองรี มาติส

ศิลปะนามธรรม เป็นศิลปะที่ไม่แสดงรูปทรงเหมือนจริง แต่แสดงเรื่องสีและพลังทางอารมณ์และความรู้สึก
ศิลปะคิวบิสม์ เป็นศิลปะกึ่งนามธรรม แสดงออกด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของปริมาตร มีความงามตามหลักของสุนทรียศาสตร์อย่างแท้จริง ศิลปินผู้นำศิลปะคิวบิสม์ ได้แก่ ปิกาสโซ
เรียบเรียงโดย...ครูสมบูรณ์ดอทคอม..

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555



ศิลปกรรมสมัยถูกประหัตประหาร
สถาปัตยกรรม ในสมัยแห่งการถูกประหัตประหาร ชาวคริสเตียนถูกตามล่าจองล้างจองผลาญจนต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พวกเขาขุดอุโมงค์ลงไปใต้พื้นดินซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า คาตาโคมบ์ ( Catacombs ) เพื่อใช้เป็นที่ลี้ภัยประกอบพิธีกรรมและเป็นที่ฝังศพ โดยเลือกขุดจากบริเวณที่มีดินทูฟาอันแข็งแกร่ง การขุดอุโมงค์เริ่มกระทำกันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เรื่อยมา จนกระทั่งได้รับพระราชทางโองการอนุญาตให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ตามใจชอบจึงเลิกกระทำ ในกรุงโรมมีอุโมงค์อยู่หลายแห่ง บางแห่งยาวนับเป็นไมล์ๆ สร้างสลับคดเคี้ยวและซับซ้อนกันหลายชั้น ตามข้างกำแพงอุโมงค์จะเจาะเป็นช่องสำหรับบรรจุศพเรียงรายกันไป ช่องเหล่านี้เรียกว่า ( Loculi ) นอกจากนี้แต่ละอุโมงค์ยังมีห้องเล็กๆ โดยเฉพาะเรียกว่า คูบิคูลา ( Cibicula ) เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ จากการสำรวจภายในคาตาโคมบ์ค้นพบศพจำนวนทั้งหมดเท่าที่รวบรวมได้มีมากกว่า 2 ล้านศพฝังไว้ในนั้น
ห้องคูบิคูลา หรือห้องประกอบศาสนกิจส่วนมากจะมีภาพจิตรกรรมวาดด้วยวิธีเฟรสโก้ประดับตกแต่งตามฝาผนังและบนเพดาน ฝีมือและรูปแบบยังคงเป็นแบบโรมันอยู่ ช่างชาวคริสเตียนได้นำมาดัดแปลงเสียใหม่ให้ตรงกับความเชื่อของตน มีการเน้นถึงความรู้สึกในเรื่องของวิญญาณและความศรัทธาในศาสนา มากกว่าจะมามัวเอาใจใส่แต่เรื่องของความงามเพียงอย่างเดียว เหมือนดังเช่นกรีก-โรมันชอบคำนึงถึง จากมูลเหตุดังกล่าว ทำให้ชาวคริสเตียนพุ่งความสนใจในการแสดงแบบสัญลักษณ์มากกว่าจะเป็นความงามที่มองเห้นด้วยตาได้ จากการที่ไม่พิถีพิถันในเรื่องฝีมือกับกรรมวิธีจึงทำให้ผลงานดูไม่มีสุนทรียภาพสูงและปราศจากฝีมือ

ศิลปกรรมสมัยได้รับการรับรอง



ศิลปกรรมสมัยได้รับการรับรอง

เมื่อจักรวรรดิคอนสแตนตินรับรองศาสนาคริสต์ให้เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย การเจาะขุดอุโมงค์คาตาโคมบ์จึงเลิกไป คริสต์ศาสนิกชนได้หันมาแสวงหาสถานที่ใหม่บนพื้นดิน ระยะแรกคงกระทันหันเกินไป ไม่มีเวลาและเงินทองจะสร้างของใหม่ได้จึงนำเอาอาคารของชาวโรมันมาใช้ อาทิ เช่น นำเอาบาสิลิกามาดัดแปลงเป็นโบสถ์ ครั้นเวลาล่วงเลยมาจึงมีการสร้างเพิ่มเติมขึ้น แต่ก็ยังไม่มีรูปแบบเด่นเป็นพิเศษ ยังคงนิยมลอกเลียนสิ่งก่อสร้างของโรมันอยู่ ทั้งนี้จะเห็นได้จากโบสถ์หลังเก่าของเซนต์ปีเตอร์ ยืมเอารูปแบบของบาสิลิกามาใช้ แต่ดัดแปลงเสียใหม่ให้มีแผนผังเป็นรูปตัว T นำเอา เอทริอุม ( Atrium = ลานบ้านชาวโรมัน อยู่หน้าบ้าน เปิดโล่งไม่มีหลังคา ) มาผสมกันกับบาสิลิกา กล่าวคือ มีบันไดขึ้นด้านหน้าสู่เฉลียงกว้างก่อนผ่านเข้าประตูใหญ่ เมื่อผ่านเข้าไปภายในจะเป็นลานขนาดใหญ่เปิดโล่งตามแบบเอทริอุมของโรมัน รอบลานนี้จะทำเป็นระเบียงทางเดินมุงหลังคาเรียบร้อย ตรงใจกลางลานมีน้ำพุสำหรับผู้มาประกอบพิธีกรรมล้างมือ ถัดจากบริเวณนี้จะเป็นตัวโบสถ์ซึ่งภายในทางด้านซ้ายและขวามือจัดเป็นที่นั่งฟังธรรม บริเวณดังกล่าวเรียกว่า ไอล ( Aisle ) จากประตูโบสถ์ถึงแท่นบูชามีช่องทางเดินกว้าง เรียกว่า เนฟ ( Nave ) ส่วนสุดห้องใช้เป็นที่ตั้งของแท่นบูชา ด้านข้างทั้งสองของแท่นบูชาขยายกว้างออกไปเป็นห้องยาวขวาง เรียกว่า ทรานเซพท์ ( Trancept ) คล้ายกับหางของตัว T
โครงสร้างหลังเก่าเซนต์ปีเตอร์ไม่ได้ใช้โวลท์ แต่หันไปใช้หลังคาจั่วแทน เพราะว่าการสร้างหลังคาด้วยระบบโวลท์และใช้คอนกรีตค่อยข้างแพง แต่เมื่อพิจารณาดูรูปทรงทั้งหมดยังคงมีเค้ารูปแบบคล้ายกับบาสิลิกาของโรมันอยู่ วิธีการวางแผนผังเช่นนี้เป็นที่นิยมในการสร้างโบสถ์ทั่วๆ ไปในระยะแรก
ครั้นเมื่อคริสต์ศาสนาได้รับการรับรอง จักรวรรดิโรมันเริ่มอ่อนแอลงตามลำดับ ประจวบกับพวกป่าเถื่อนได้ถือโอกาสยกเข้าโจมตีปล้นสะดมกรุงโรมอยู่เป็นเนืองนิจ จักรพรรดิโฮโนริอุสจึงได้ย้ายเมืองหลวงจากโรมไปอยู่ที่เมืองราเวนนา ( Ravenna ) ในปี ค.ศ. 402 ที่ตั้งของราเวนนามีภูมิประเทศคับขัน สามารถป้องกันศัตรูได้ดี อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับเมืองท่าคลาสเส ( Classe ) ซึ่งสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากจักรวรรดิบิแซนทีนหรือโรมันตะวันออกได้อย่างสะดวกสบาย ถึงอย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 476 ราเวนนา เมืองหลวงสุดท้ายของจักรวรรดิโรมันก็ทนต่อการรุกรานของพวกกอธไม่ไหว โอโดเชอร์ ผู้นำของชนเหล่านั้นได้เข้ายึดครองและเปลี่ยนแปลงราเวนนาให้เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรโตรกอธ อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ราเวนนาได้เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 540 และถึงกาลอวสานเมื่อจักรพรรดิจัสติเนียนของจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือ บิแซนทีน ได้ส่งกองทัพมารบบุกยึดกรุงราเวนนาและอิตาลีไว้ได้ ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของบิแซนทีนเข้ามามีอิทธิพลโดยตรงในอิตาลี ในขณะเดียวกันอำนาจของคริสตจักรที่โรมนับวันจะพอกพูนขึ้นทุกขณะ

ประวัติทั่วไปของศิลปะ


ในดินแดนปาเลสไตน์ก่อน ค.ศ. 4 ปี จีซัส ไครสต์ ได้ถือกำเนิดในหมู่บ้านเบธเลเฮมของชาวยิว ใช้ชีวิตวัยหนุ่มส่วนใหญ่เป็นช่างไม้ในหมู่บ้านนาซาเรธ พระองค์เกิดมาในท่ามกลางของความกดขี่ขูดรีดอย่างหนักของจักรพรรดิโรมันต่อชาวยิว ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า ทำให้ชาวยิวต่างใฝ่ฝันที่จะได้ เมซไซ-อะ ( Messiah ) หรือผู้มาโปรดโลก เพื่อขับไล่ชาวโรมันให้ออกจากดินแดน และสถาปนารัฐยิวที่เป็นของชาวยิวขึ้นมา
จีซัส ไครสต์ ได้เริ่มต้นสั่งสอนให้มนุษย์มีความรัก ความกรุณาซึ่งกันและกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 28 หลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ได้แพร่หลายออกไป ก่อให้เกิดความสนใจต่อชาวยิวอย่างยิ่ง จนถึงกับทึกทักเอาว่าพระองค์ คือ เมซไซ-อะ ที่ทุกคนเฝ้ารอคอย แต่แล้วจีซัสกลับสนใจแต่เรื่องของวิญญาณ มิใช่เรื่องทางวัตถุ จึงก่อให้เกิดความผิดหวังและกลายเป็นการต่อต้านและเป็นปฏิปักษ์การกระทำของพระองค์อย่างกว้างขวาง มีทั้งพวกคลั่งชาติ พวกเจ้าหนี้ที่คอยเอารัดเอาเปรียบ และพวกพระซึ่งเกรงว่าจีซัส จะทำให้ฐานะและสิทธิของตนหมดสิ้นไป ทุกฝ่ายต่างพากันกล่าวหาว่าจีซัสคือผู้ทำลายความสงบสุขและลบหลู่พระยะโฮวาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกตน จนกระทั่งจีซัสถูกกล่าวหักหลังโดยบอกกับเจ้าหน้าที่มาจับตัวไปให้ศาลศาสนาซาเฮดรินของพวกยิวตัดสิน และถูกพิพากษาประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขนราวกับผู้ร้าย
การเสียสละชีวิตของจีซัสมีผลสะท้อนออกไปอย่างกว้างขวางและล้ำลึก สาวกผู้มีศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้าได้นำคำสั่งสอนของพระองค์ออกเผยแพร่ออกไป โดยเฉพาะแหล่งชุมชนของชาวยิว ซึ่งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในเมืองต่างๆ แถบชายทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และที่อยู่ในกรุงโรม ต่อมาจึงค่อยเผยแพร่ออกไปสู่ชนชาติต่างๆ อย่างไม่จำกัดจนกลายเป็นศาสนาใหญ่และสำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง
อนึ่ง ในระหว่างที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ชาวโรมันมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย แต่คนอื่นมิได้เป็นชาวโรมันกลับเต็มไปด้วยความทุกข์ยาก ทุกคนใฝ่ฝันที่จะมีเสรีภาพและความเสมอภาค พวกเขาพบว่าคริสต์ศาสนาได้สนองความต้องการของพวกตน ให้ความหวังในเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาพในหมู่มนุษย์ ดังตัวอย่าง เช่น มีคำสอนในศาสนากล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้าหรือพระบิดาที่เปี่ยมด้วยความรักความกรุณาได้สั่งพระบุตรหรือพระเยซูลงมาเพื่อไถ่บาปของมนุษย์ อนึ่ง ในเรื่องสิทธิการนับถือศาสนา แม้ว่าโรมันจะไม่มีนโยบายเป็นปฏิปักษ์ต่อความเชื่อความศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ ตราบใดที่ผู้นั้นยังร่วมถวายสักการะบูชาองค์จักรพรรดิ์ให้เป็นประดุจหนึ่งเทพเจ้าชาวโรมัน จะไม่ขัดขวางการนับถือศาสนานั้นๆเลย คตินิยมนี้ชาวคริสเตียนยินยอมไม่ได้ เพราะขัดกับความเชื่อเรื่องของพระเจ้าของพวกตน นอกจากนี้ชาวโรมันเชื่อว่าหน้าที่สำคัญของมนุษย์ควรพึงปฏิบัติต่อรัฐ ส่วนชาวคริสเตียนมีความคิดเห้นว่า หน้าที่สำคัญของมนุษย์ คือ การปฏิบัติต่อพระเจ้า ดังนั้น ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในขั้นพื้นฐานของความศรัทธาระหว่างชาวโรมันและชาวคริสเตียน จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ชาวคริสเตียนจะไม่ยอมร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่ที่ทางรัฐจัดขึ้น ไม่ยอมรับราชการทำหารหรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ทางการโรมันจึงต้องปราบปรามชาวคริสเตียนอย่างรุนแรงและเหี้ยมโหดเป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี แต่ดูเหมือนว่ายิ่งปราบปรามมากเท่าใดก็ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น จนมีผู้กล่าวว่า “ โลหิตของผู้เสียสละกลายเป็นเมล็ดพันธุ์ให้กับศาสนา ” ตราบจนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรดิคอราแตนติน พระองค์ได้ทรงพระราชกรณียกิจที่สำคัญไว้สองประการ คือ ประการแรก ได้ออกพระราชกฤษฎีกาแห่งเมืองมิลาน ( Decoree of Milan ) ในปี ค.ศ. 313 ประกาศยกฐานะของชาวคริสเตียนให้มีสิทธิเท่าเทียมกับชาวโรมัน ยกเลิกคำสั่งห้ามชาวคริสเตียนรับราชการ ยอมให้ถือกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินและสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ตามใจชอบ ประการที่สอง ได้สร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่แคว้นบิแซนติอุมให้เป็นราชธานีของจักรวรรดิโรมันตะวันออก นับตั้งแต่นั้นมา คริสศาสนาอันถูกต้องตามกฎหมาย ยั่งกว่วนั้นรัฐบาลในยุคหลังเริ่มเกื้อกูลให้การอุปถัมภ์พร้อมกับร่วมมือในการทำลายเปลี่ยนแปลงเทวสถาน และกวาดล้างลัทธิอื่นๆ ซึ่งมิได้เป็นศาสนาคริสต์อีกด้วย

สถาปัตยกรรม



สถาปัตยกรรม
ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้น ๆ ก็จะเป็นฝาผนัง โดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่าง ๆ 1 - 3 ห้อง ปกติสถาปนิกจะ สร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน อย่างมีจังหวะ ระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบ ๆ วิหารมีความสว่าง และมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์ และมีขนาดเหมาะสม ไม่ใหญ่โต จนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน 2 ใน 3 แบบ เกิดใน สมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริก และแบบไอโอนิก ซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไป ในแถบเอเชียไมเนอร์ เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมด ในสมัย ต่อมา เกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือ แบบโครินเธียน หัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกัน โดยมี การตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบ บางทีก็แกะสลักรูป คนประกอบไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความ นิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่ว และสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับ ประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%81

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์


ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ คืองานศิลปะที่ได้เริ่มทำก่อนกันมาก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการบันทึกเรื่องราวที่เรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยนับตั้งแต่ ยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 15,000-10,000 มานั้น มนุษย์ได้เขียนภาพสี และขูดขีดบนผนังถ้ำและเพิงผา เป็นภาพสัตว์ การล่าสัตว์และภาพลวดลายเรขาคณิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงออกเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน และแสดงความสามารถในการล่าสัตว์
ภาพเหล่านี้มักระบายด้วยถ่านไม้ และสีที่ผสมกับไขมันสัตว์ พบได้ทั่วไปในประเทศฝรั่งเศสและภาคเหนือของสเปน ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ ถ้ำลาสโกซ์ ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิรา ในสเปน งานศิลปะในยุคเก่าไม่มีเพียงแต่การเขียนภาพเท่านั้น ยังมีการปั้นรูปด้วยดินเหนียว หรือแกะสลักบนกระดูก เขาสัตว์ และงาช้าง
เรื่องราวที่นิยมทำกันได้แก่เรื่อง การล่าสัตว์ หรือบางก็มีรูปคน เป็นรูปสตรี ซึ่งอาจมีความหมายถึงการให้กำเนิดเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับชนเผ่า
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
งานจิตรกรรมของอียิปต์
เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%8C

สถาปัตยกรรมอียิปต์
สถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%8C

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของฉัน จิตวิสุทธิ์ การิโก Blog นี้สร้างขึ้นเพื่อไว้ให้เรียนอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวัน