วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ขอเชิญร่วมประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555

ขอเชิญร่วมประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555

Share
ด้วย ธนาคารกสิกรไทยได้จัดให้มีการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555 และได้วางระเบียบการประกวดไว้ ดังต่อไปนี้
1. แนวเรื่อง
ศิลปินสามารถกำหนดแนวเรื่องโดยอิสระ ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์และรูปแบบการแสดงออกในศิลปกรรมร่วมสมัยของไทย
2. ประเภทศิลปกรรม ได้แก่
2.1 งานศิลปกรรมที่มีลักษณะ 2 มิติ ได้แก่ งานวาดเส้น (Drawing) งานจิตรกรรม (Painting) คืองานศิลปกรรมประเภทการวาด ระบายหรือเทคนิคการปิดปะ และ งานภาพพิมพ์ (Print) คืองานศิลปกรรมประเภทศิลปะภาพพิมพ์ ในประเภทและกระบวนการภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ (Intaglio) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ตะแกรงไหม (Silkscreen) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ (Wood Cut / Wood Block) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์แผ่นยาง (Lino Cut) หรือ กระบวนการภาพพิมพ์แบบต่างๆ เช่น ภาพพิมพ์แม่พิมพ์หิน (Lithograph) หรือ ภาพพิมพ์ชิ้นเดียว (Monoprint)
2.2 งานศิลปกรรมที่มีลักษณะ 3 มิติ ได้แก่ งานประติมากรรม (Sculpture) คืองานประเภทการปั้น หล่อ แกะสลัก การเชื่อมโลหะ หรือวัสดุสมัยใหม่

3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานและลักษณะงานที่ส่งเข้าประกวด
3.1 เป็นศิลปินสัญชาติไทย หรือศิลปินต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3.2 เป็นผู้สร้างผลงานจากความคิดของตนเองและเป็นงานที่ทำด้วยฝีมือของตนเอง
3.3 เป็นศิลปกรรมที่ไม่เคยแสดง ณ ที่อื่นใดมาก่อน

4. การส่งงานเข้าประกวด
4.1 ศิลปินมีสิทธิ์ส่งงานเข้าประกวดได้ประเภทละไม่เกิน 2 ชิ้น และส่ง ณ จุดรับงานแห่งเดียวกันตามข้อ 4.8
4.2 ขนาดของงานที่ส่งเข้าประกวด
- ประเภทงาน 2 มิติ จะต้องมีขนาดด้านละไม่เกิน 2 เมตร (รวมกรอบ)
- ประเภทงาน 3 มิติ จะต้องมีขนาดกว้าง ยาว และสูงไม่เกินด้านละ 1 เมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
4.3 งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องใช้วิธีการและวัสดุที่คงทนถาวร
4.4 งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย พร้อมจะติดตั้งได้
4.5 ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องศึกษาในระเบียบการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2555 และยอมรับในเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ จากนั้นจึงลงนามในใบส่งผลงานเพื่อเป็นหลักฐานกับเจ้าหน้าที่
4.6 กรณีผู้ส่งงานประสงค์จะจำหน่ายผลงานนั้น ๆ ให้แจ้งราคาไว้ในใบส่งผลงาน
4.7 ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 7 - 9 กันยายน 2555 พร้อมกันทุกภูมิภาค
4.8 ติดต่อส่งผลงานได้ตามสถานที่ต่อไปนี้
ภาคใต้ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
โทร. (074) 443-959
ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม
โทร. (02) 221-3841/ (085) 087-9373
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โทร. (043) 754-384
ภาคเหนือ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร. (053) 944-833
4.9 การส่งและรับคืนผลงานเป็นความรับผิดชอบของศิลปินเจ้าของผลงาน
อนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมเท่านั้นเพื่อเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ โดยคณะกรรมการดำเนินงานจะระวังรักษาผลงานที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเหตุสุดวิสัย
5. คณะกรรมการ
ธนาคารกสิกรไทยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ดังนี้

5.1 คณะกรรมการคัดเลือก
ภาคกลางและภาคตะวันออก
อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ กรรมการ
รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ กรรมการ
รองศาสตราจารย์สรรณรงค์ สิงหเสนี กรรมการ
รองศาสตราจารย์จิระพัฒน์ พิตรปรีชา กรรมการ
รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลินทสูต กรรมการ

ภาคเหนือ
รองศาสตราจารย์พงศ์เดช ไชยคุตร ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร รอดบุญ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ เสาว์คง กรรมการ
อาจารย์พิชัย กรรณกุลสุนทร กรรมการ
อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ กรรมการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ประธานกรรมการ
อาจารย์ทวี รัชนีกร กรรมการ
อาจารย์ผ่อง เซ่งกิ่ง กรรมการ
อาจารย์โชคชัย ตักโพธิ์ กรรมการ
อาจารย์นิพนธ์ ขันแก้ว กรรมการ

ภาคใต้
อาจารย์ชิโนรส รุ่งสกุล ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมล คงทอง กรรมการ
อาจารย์จรูญ ศรียะพันธุ์ กรรมการ
อาจารย์ปริทรรศ หุตางกูร กรรมการ
5.2 คณะกรรมการตัดสิน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ประธานกรรมการตัดสิน
อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน กรรมการ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม กรรมการ
ศาสตราจารย์เดชา วราชุน กรรมการ
ศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก กรรมการ
ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง กรรมการ
รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข กรรมการ
รองศาสตราจารย์พงศ์เดช ไชยคุตร กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง กรรมการ
อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กรรมการ
อาจารย์ชิโนรส รุ่งสกุล กรรมการ
รองศาสตราจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร กรรมการและเลขานุการ
อาจารย์วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยเลขานุการ

6. การคัดเลือกและตัดสิน
6.1 การคัดเลือกและตัดสินแบ่งเป็น
- รอบคัดเลือก ณ ภูมิภาคที่ส่งผลงาน โดยคณะกรรมการคัดเลือกในแต่ละภาคเป็นผู้พิจารณา
- รอบตัดสิน ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ โดยคณะกรรมการตัดสินเป็นผู้พิจารณา
6.2 การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการตัดสิน ถือว่าเป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้
6.3 คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินทรงสิทธิ์ในการคัดเลือกผลงานที่เหมาะสมและมีคุณภาพเพื่อรับรางวัลและเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ
6.4 คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินทรงสิทธิ์ในการงดหรือเพิ่มรางวัลใดรางวัลหนึ่งได้
6.5 ผลการตัดสินรอบสุดท้ายจะประกาศให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ www.kasikornbank.com
และผ่านทางสื่อมวลชน
7. รางวัล
รางวัลแบ่งออกเป็น 13 รางวัล รวมเงินรางวัล 1.4 ล้านบาท ได้แก่
7.1 รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัลละ 300,000 บาท พร้อมเหรียญรางวัล
7.2 รางวัลชนะเลิศ จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัลละ 200,000 บาท พร้อมเหรียญรางวัล
7.3 รางวัลพิเศษ จำนวน 10 รางวัล เงินรางวัลละ 70,000 บาท พร้อมเหรียญรางวัล

* เงินสมนาคุณผลงานละ 5,000 บาท สำหรับผลงานของศิลปินที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดงนิทรรศการจะได้รับภายหลังร่วมแสดง ยกเว้นผู้ที่ได้รับรางวัล
8. กรรมสิทธิ์ของงานที่ได้รับรางวัล
8.1 งานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลทุกรางวัล ได้แก่ รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลชนะเลิศ และรางวัลพิเศษให้ตกเป็นสมบัติของธนาคารกสิกรไทย
8.2 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกรับรางวัล ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการมอบผลงานบางชิ้นให้แก่หน่วยราชการและองค์กรต่าง ๆ
8.3 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกรับรางวัลและร่วมแสดงนิทรรศการ ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานและการจัดพิมพ์ผลงานเพื่อเป็นวิชาการและประโยชน์ต่อสาธารณะ
9. กำหนดการดำเนินการ
9.1 การส่งผลงาน วันที่ 7-9 กันยายน 2555 เวลา 10.00-16.00 น. พร้อมกันทุกภูมิภาค
9.2 การคัดเลือกระดับภูมิภาค
- ภาคใต้ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- ภาคกลางและตะวันออก ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ภาคเหนือ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9.3 การตัดสินรอบสุดท้าย ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ (อาคารพหลโยธิน)
9.4 มอบรางวัลและการแสดงนิทรรศการ
มอบรางวัล วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2555 ณ ธนาคารกสิกรไทย อาคารพหลโยธิน
การแสดงนิทรรศการ วันที่ 6 ธันวาคม 2555 - 31 มกราคม 2556 เวลา 9.00-16.00 น. (เว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ (อาคารพหลโยธิน)

10. ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัล ให้ศิลปินผู้ส่งงานรับงานคืน ดังนี้
10.1 ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ สามารถรับคืนได้ที่จุดส่งผลงานในแต่ละภูมิภาค ในวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555 โดยจะได้รับค่าขนส่งคนละ 1,000 บาท และหากพ้นกำหนดเวลาการรับงานคืนตามที่ประกาศแล้ว คณะกรรมการดำเนินการไม่อาจรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ อันจะพึงมีได้
10.2 ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัล แต่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ สามารถรับคืนได้ที่จุดรับงานตามภูมิภาค ในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 โดยจะได้รับเงินค่าสมนาคุณคนละ 5,000 บาท ตามหมายเหตุในข้อ 7 และหากพ้นกำหนดเวลาการรับงานคืนตามที่ประกาศแล้ว คณะกรรมการดำเนินการไม่อาจรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ อันจะพึงมีได้
สอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย 0 2470 2653-8

สมัย โฟวิสม์

สมัย โฟวิสม์

ณ งานแสดงศิลปะที่ซาลงโดตอน ในปีค.ศ.1905 การแสดงครั้งนี้เป็นการแสดงผลงานที่คละเคล้ากันไประหว่างงานยุคเก่าและงานยุคใหม่ ในงานยุคเก่าคือ ผลงานประติมากรรมแบบ Renaissance ของศิลปินโดนาเตลโล กับงานยุคใหม่โดยจิตรกรร่วมสมัยในยุคนั้นซึ่งมีรูปแบบและสีสันที่รุนแรง ดุดัน อันเป็นลักษณะตรงกันข้ามกับศิลปะ Renaissance เลยทีเดียว

ดังนั้นเมื่อนักวิจารณ์ที่ชื่อ หลุยส์ โวเซลล์ได้เข้ามาชมงานจึงเกิดความรู้สึกว่า ผลงานของโดนาเตลโลอยู่ท่ามกลางสัตว์ป่า(fauv) ซึ่งสัตว์ป่าในที่นี้ หลุยส์ โวเซลล์หมายถึง ผลงานศิลปะร่วมสมัยที่แสดงอยู่ร่วมกันนั่นเอง แม้เขาวิจารณ์ด้วยความรู้สึกกระแทกแดกดันมากกว่าชื่นชม แต่กลุ่มศิลปินเหล่านี้กลับเห็นดีเห็นงามกับคำวิจารณ์ของเขาไปเสียนี่ ดังนั้นพวกเขาจึงยินดีใช้ชื่อกลุ่มว่า Fauvism ไปเสียเลย
ศิลปะแนวนี้เกิดขึ้นที่ฝรั่งเศสโดย อองรี มาติสส์ คือผู้นำของกลุ่ม งานของพวกเขาเป็นการหาแนวทางใหม่ให้กับโลกศิลปะ ฉีกกฎเกณฑ์เก่า ๆ อันคร่ำครึ สร้างงานตามสัญชาตญาณการแสดงออกอย่างเต็มที่ ใช้สีสดใส รุนแรง มีลีลาสนุกสนาน มีการตัดเส้นอย่างเด่นชัด แม้ว่าจะใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงแต่ก็เข้ากันได้อย่างประสานสัมพันธ์ ผลงานโดดเด่นที่ความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินซึ่งแสดงออกอย่างเสรี มาติสส์ได้รับแนวคิดจาก เซซานน์ ทางรูปทรงและความรู้สึก แล้วนำมาปรับปรุงใหม่

"สิ่งที่ข้าพเจ้าฝันถึงคือ ศิลปะแห่งความสมดุล ความบริสุทธิ์และความสงบ โดยไม่พะวงถึงเรื่องราว ศิลปะที่ข้าพเจ้าต้องการเป็นศิลปะที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด ศิลปะคล้ายกับเก้าอี้โยกอย่างดีที่ให้ความสบาย คลายความเมื่อยล้าของร่างกายอย่างไรอย่างนั้น"

"โลกภายนอกที่เห็นชัดเจนนี้มีอยู่ในจิตใจของศิลปิน และความรู้สึกของสีขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสัมพันธ์ของรูปและสีต้องสมดุลกันตามที่ศิลปินต้องการ"

"ในการมองภาพจิตรกรรม ควรจะลืมเสียเถิดว่ามันเป็นเรื่องอะไร"

"นั่นไม่ใช่รูปผู้หญิง แต่เป็นรูปเขียนผู้หญิง" เหล่านี้ คือความคิดของ อองรี มาติสส์ ซึ่งทำให้เราได้เห็นว่าเขาเป็นคนหัวก้าวหน้า กล้าคิด กล้าทำขนาดไหน มิหนำซ้ำยังกล้าวิจารณ์งานในแบบ นีโอ-อิมเพรสชั่นนิสม์อีกว่า การใช้สีแต้มจุดแบบนั้นเป็นเพียงกลวิธี หาใช่ความสุนทรีย์ไม่







สมัย เอ็กซเพรสชั่นนิสม์

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ กลุ่มโฟวิสม์ อุบัติขึ้นที่ฝรั่งเศสนั้น ที่เยอรมัน ก็มีกลุ่มเอ็กซเพรสชั่นนิสม์เกิดขึ้นมาใหม่เหมือนกัน โดยศิลปินกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลแนวคิด คตินิยมต่อจากฟาน กอห์ก

และโกแกง โดยตรง

นั่นคือการแสดงออกถึงอารมณ์ภายในอันเร่าร้อนรุนแรง การใช้สีและการตัดเส้นรอบนอก เพื่อให้รูปทรงดูเด่นชัดและแข็งกร้าว พวกเขาสะท้อนแนวคิดที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง แสดงความสกปรก ความหลอกลวง ความเลวร้ายของสังคม ต่างจาก โฟวิสม์ ซึ่ง กลุ่มโฟวิสม์ ที่ฝรั่งเศสไม่ได้เน้นเนื้อหาตรงนี้

ทว่าความคิดที่สอดคล้องต้องกันของทั้งสองกลุ่มก็คือ พวกเขาคิดว่า ศิลปกรรมของยุโรปโดยทั่วไปมีแนวโน้มการแสดงออกไปในด้านที่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความจริง

ศิลปินต่างเสแสร้งและปิดบังโลกแห่งความเป็นจริง คำนึงถึงความงามแต่อย่างเดียว ทำให้มันดูสูงสง่า เป็นของเข้าใจยาก ศิลปินทั้งสองกลุ่มไม่ได้ยึดแนวทางดั้งเดิม เรียกว่า พวกเขามีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อความงามทางศิลปะก็ว่าได้ แล้วหันมาเสนองานที่กล้าเผชิญหน้าตรง ๆ ระหว่างโลกและมนุษย์

แต่การแสดงออกของทั้งสองกลุ่มก็มีแนวทางแตกต่างกัน โฟวิสม์ใช้อารมณ์สร้างรูปแบบส่วนเอ็กซเพรสชั่นนิสม์ปล่อยให้รูปแบบแสดงอารมณ์

พวกเอ็กซเพรสชั่นนิสม์แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งชื่อกลุ่มสะพาน (die brucke) ประกอบด้วย Ernst Ludwig Kirchner,Karl Schmidt Rottluff,Eric Hegkel,Max Pechstein,Emile Nolde ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มนักขี่ม้าสีน้ำเงิน (Der Blaue Reiter) ประกอบด้วย Franz Marc,Wassily Kandinsky,Paul Klee,Lyonel Feiniger,August Macke,Heinrick Campendonk

หลักสุนทรียภาพของพวกเขาอยู่ที่การแสดงออกอย่างรุนแรงเกินความจริง มีการบิดผันรูปทรงต่าง ๆ ให้ดูหมุนเวียน มีการเคลื่อนไหว แสดงเส้นอย่างเด่นชัด ชอบใช้สีดำ (ต่างจากอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ไม่ใช้สีดำ เพราะถือว่าสีดำไม่มีอยู่ในธรรมชาติของแสง) และใช้สีที่ตัดกันอย่างรุนแรง ชอบในรูปทรงง่าย ๆ แต่สามารถสร้างอารมณ์อย่างถึงขีดสุด



สมัย คิวบิสม์

มันเริ่มต้นมาจาก พอล เซซานน์ ที่ค้นหาความงามจากรูปทรงต่าง ๆใ นธรรมชาติ เซซานน์ ว่าศิลปินควรดูความงามของธรรมชาติจากรูปทรงของเหลี่ยม ลูกบาศก์ ค้นหาโครงสร้างตามความจริงที่เป็นแท่ง ๆ มากกว่าจะไปเน้นที่รายละเอียด

พาโบล ปิกัสโซ นำแนวความคิดนี้มาพัฒนาต่อจนเป็นรูปแบบของตนเองและทำให้เขาโดดเด่นเป็นผู้นำในศิลปะแนวนี้ เขาสร้างรูปทรงเป็นแบบเรขาคณิต หาโครงสร้างมาแยกย่อยแล้วประกอบเข้ากันใหม่ ใช้สีแบน ๆ บางทีเอาด้านหน้าและด้านหลังมาประกอบพร้อม ๆ กันเพื่อให้ผู้ดูได้เห็นวัตถุนั้นทั้งสองด้านในคราวเดียวกัน เป็นการแก้ปัญหาของภาพเขียนที่มีเพียงสองมิติและตาเห็นได้แค่ด้านเดียว หลักสุนทรียศาสตร์อยู่ที่ กฎของการควบคุมความรู้สึก อารมณ์การแสดงออกต้องมีการพิจารณากลั่นกรองเสียก่อน ใช้สีมัว ไม่สด ไม่รุนแรง

คิวบิสม์แบ่งออกได้เป็นสามยุค ในยุคแรก คิวบิสม์วิเคราะห์ งานมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์รูปทรงให้พัฒนานอกเหนือจากสภาพที่เป็นอยู่ในธรรมชาติ เน้นเรื่องน้ำหนัก ความแข็งแรงของวัตถุและปริมาตร ศิลปินจะมองสิ่งต่าง ๆ คล้ายผลึกแก้วหรือเพชรได้รับการเจียระไนให้เกิดเหลี่ยมเป็นแง่เป็นมุม และยังทำให้โปร่งแสงแสดงรอยที่ซ้อนทับกัน เพื่อทำให้เกิดมิติ ในยุคแรกนี้ยังมีร่องรอยของธรรมชาติปรากฏอยู่
ยุคที่สอง ยุคทองของคิวบิสม์วิเคราะห์ ศิลปินจะจำแนกวัตถุออกเป็นส่วนต่างๆ ขยายให้เกิดมุมเด่นชัดขึ้น แล้วก็ผสมผสานวัตถุต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันทั้งภาพ ไม่แสดงส่วนละเอียด สีในภาพเป็นสีเทาอมน้ำตาล นำวัตถุที่ถูกมองจากมุมมองที่ต่างกัน ทั้งเบื้องบน ด้านข้าง ด้านหน้า หรือด้านใด ๆ ก็แล้วแต่มารวมกันให้เกิดเอกภาพ อยู่ในองค์เดียวกัน ทางด้านรูปทรงก็ถูกทำลายจนเกือบอยู่ในสภาพนามธรรมอยู่แล้ว

ยุคที่สาม คิวบิสม์สังเคราะห์ ผลงานในยุคนี้เริ่มมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาคละเคล้าปะติดรวมกันกับการวาดภาพ วัสดุเหล่านี้อาจเป็นกระดาษ ผ้า ฯลฯ วิธีเช่นนี้เรียกว่า Collage มีการเขียนตัวหนังสือหรือชไม่ก็ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ ปะลงผืนผ้าใบทำให้เกิดอารมณ์ทางด้าน Novel Tactile Value (แปลว่า คุณค่าในการรับรู้ด้วยการนำอักษรมาเป็นสื่อนำความเข้าใจ) การจัดภาพในยุคนี้เป็นอิสระกว่าเดิม มีการสังเคราะห์ในเรื่องของเส้นให้มีความใกล้ชิดกับเส้นเรขาคณิตมากขึ้น

กล่าวคือเส้นตรง โค้งเป็นระเบียบ โดยไม่มีเส้นแบบอ่อนไหวที่ไม่เป็นระเบียบ ให้ความสำคัญกับการจัดวาง กลายเป็น"การเล่นของวุฒิปัญญา"

สมัย ฟิวเจอริสม์

ศิลปะเพื่ออนาคต ฟิวเจอริสม์ ถือเป็นคำประกาศของการสิ้นสุดยุคสมัยศิลปกรรมในอดีต และเป็นการเกิดใหม่ของศิลปะอีกยุคหนึ่ง ศิลปินกลุ่มนี้เกิดขึ้นที่อิตาลี นับถือความเร็วเป็นพระเจ้า ว่ากันว่ารถจักรยานยนต์ที่ส่งเสียงคำรามกึกก้องราวกับปืนกลนั้น มีความสวยงามยิ่งกว่ารูปประติมากรรมสลักหินอ่อนที่ชื่ออนุสาวรีย์ชัยชนะแห่งซาโมเธรสเสียอีก (ว่าเข้าไปนั่น) พวกเขาคัดค้านความคิดในสุนทรียภาพตามแบบฉบับของคลาสสิกโบราณ ดังนั้นจึงควรรื้อเมืองโบราณ เผาพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดซึ่งเป็นที่รวมความคิดมอมเมาประชาชนในยุคปัจจุบันของคนโบราณเสียให้หมด (อะไรจะขนาดนั้น) พวกเขาชิงชังความคิดอันเพ้อฝัน ความงามของพวกเขาขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อย่างพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องบิน สิ่งที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็ว พวกเขายึดหลักอยู่สองประการคือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอากาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญาณในร่างกาย (สุดท้ายศิลปะก็หนีไม่พ้นเรื่องของจิตวิญญาณอยู่ดี)

ศิลปินใช้วิธีวาดให้เกิดภาพลวงตา ซึ่งคิดขึ้นมาจากทฤษฎีวัตถุที่ประจักษ์แก่สายตา โดยผ่านการทดลองให้เห็นจริงมาแล้ว จากภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ พวกเขาค้นหาความจริงของการเปลี่ยนรูปทรง ซึ่งจะสูญเสียความมีปริมาตรเมื่อรูปทรงนั้น ๆ เคลื่อนไหว ศิลปินที่เป็นผู้นำของกลุ่มคือ Umberto Boccioni พวกเขาถือว่า รูปทรงที่ได้รับการถ่ายทอดให้เหมือนจริงตามแบบทั้งหมด เป็นสิ่งที่น่าดูถูกเหยียดหยาม รูปทรงที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์จึงจะเป็นสิ่งที่น่ายกย่องแสนประเสริฐ

ผลงานแสดงออกถึงความวุ่นวายของชีวิตในยุคใหม่ ให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบของภาพ

ลัทธิกลศาสตร์ ที่ว่าด้วยการเคลื่อนไหวของจักรวาล ต้องมีอยู่ในงานจิตรกรรม พร้อมกับการแสดงความเคลื่อนไหว พวกเขากล่าวว่า คำว่า "คนบ้า" เป็นคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือปิดปากพวกหัวก้าวหน้าทั้งหลาย ดังนั้นควรพิจารณาด้วยความเป็นธรรม

บ็อชชินี่บอกว่างานของพวกเขาไม่ใช่การก่อรูปของร่างกาย แต่เป็นการก่อรูปของการกระทำของร่างกาย หมายความว่างานทุกชิ้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวนั่นเอง แต่กลุ่มฟิวเจอริสม์นี้มีอายุสั้น เนื่องจากช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ.1914) ผู้นำกลุ่มคือบ็อชชินี่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เขาได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเสียชีวิตลงในปี 1916 ผู้ที่เคยร่วมอุดมการณ์ต่างก็แยกย้ายไปหาแนวทางอื่นในการทำงานของตนต่อไป





ศิลปะ นามธรรม

สุดยอดของงานที่ดูแล้วไม่รู้เรื่องที่สุดก็คืองานในแนว แอบสแตรก นี่เอง การแสดงออกของงานนามธรรมมีหลักกว้าง ๆ อยู่สองแนวคือ

1. ตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ให้มีรูปทรงที่ง่ายหรือเหลือแต่แก่นแท้

2. สร้างรูปทรงที่ไม่ต้องการเสนอเรื่องราวใดๆเป็นพื้นฐาน อย่างเช่น รูปทรงเรขาคณิต มาใช้ในการสร้างงาน

ศิลปะนามธรรมนี้ยังแบ่งออกเป็นสองแบบด้วยกัน ได้แก่ แบบโรแมนติก เป็นงานที่แสดงความรู้สึกอย่างมีอิสระ มีอารมณ์เป็นพื้นฐาน แสดงความรู้สึกภายในออกมาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า In formalist (ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์)

แบบคลาสสิก ซึ่งมีสิ่งดลใจจากรูปทรงเรขาคณิต มีการวางแผน มีกฎเกณฑ์ กฎที่ว่าอาจคิดขึ้นเองได้ พวกนี้เรียกว่า Formalist (มีระเบียบกฎเกณฑ์)

Wassily Kandinsky (คนเดียวกับที่อยู่ในกลุ่มนักขี่ม้าสีน้ำเงินนั่นแหละ) นับเป็นคนแรกที่ทำงานในแนวนี้ เขามีหลักในการทำงานด้วยการใช้สีสดบริสุทธิ์ เน้นเรื่องสีและรูปทรง ที่จะเป็นหลักการติดต่อระหว่างเจตนากับวิญญาณของมนุษย์

ทางด้านองค์ประกอบ มีจุดประสงค์ในการรวมตัวของสีและรูปทรงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ การรวบรวมไว้โดยความจำภายในใจ และกลับฟื้นมาอีกในรูปทรงทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า ภาพ

เขากล่าวว่างานศิลปะประกอบด้วยสองสิ่งคือ สิ่งที่อยู่ภายใน กับสิ่งที่อยู่ภายนอก สิ่งที่อยู่ภายในคืออารมณ์ ความรู้สึกในวิญญาณของศิลปิน

ความรู้สึกนี้มีความยิ่งใหญ่ต่อการปลุกเร้า ความรู้สึกให้คล้ายคลึงกับที่มีอยู่ในผู้ชม (ผู้ชมคือสิ่งที่อยู่ภายนอก) เมื่อความรู้สึกของทั้งสองคือฝ่ายศิลปินและผู้ชมมีความคล้ายกันและมีค่าเท่าเทียมกัน ย่อมหมายความว่างานศิลปะชิ้นนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ สิ่งที่อยู่ภายในนั้นต้องมีอยู่ งานศิลปะเป็นเพียงสิ่งสมมติ ดังนั้น สิ่งที่อยู่ภายในจะเป็นสิ่งกำหนดงานศิลปกรรม

กำเนิดแห่งแรงดลใจมาจาก ความประทับใจในธรรมชาติ จิตไร้สำนึกที่แสดงออกอย่างฉับพลัน และงานที่ถูกทำแล้วทำอีกเป็นเรื่องราวที่อวดภูมิปัญญา สิ่งนี้เขาเรียกว่า องค์ประกอบ

ศิลปะ ดาดา

ดาดาอิสม์ เป็นศิลปะอีกกลุ่มหนึ่งที่มีปฏิกิริยาต่อต้านคัดค้านศิลปกรรมเก่า ๆ ในอดีต พวกเขาคิดว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีจิตใจคับแคบ ดังนั้นต้องสร้างสรรค์งานแนวใหม่ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับศิลปะแบบเก่า

แนวความคิดของกลุ่มนี้อยู่บนพื้นฐานทางอามรณ์ อันต้องการปลดเปลื้องความคิดผิด ๆ แบบเก่าให้หมดไป และเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมในสังคมและศิลปะวิทยา สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การแสดงออกของศิลปินกลุ่มนี้ออกไปทางแดกดัน เยาะเย้ย ถากถาง มองโลกในแง่ร้าย เห็นว่าโลกนี้เลว สมควรถูกทำลายได้แล้ว พวกเขาแนะให้มีการสร้างงานที่ผิดหลักความจริง สร้างศิลปะอยู่ที่การโกหก หลอกลวงเป็นสำคัญ

พวกเขาไม่เชื่อหลักตรรกวิทยา หากแต่ต้องการปลดปล่อยจิตไร้สำนึกให้แสดงพฤติกรรมอย่างอิสระเต็มที่ แม้ว่าจิตไร้สำนึกจะมีแนวโน้มเอียงไปในทางวิตถาร ดูพิลึก พิสดารก็ตาม พวกเขายังได้รับอิทธิพลมาจากพวกฟิวเจอริสม์ ในเรื่องของความเร็วและเครื่องจักรกลด้วย แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ ฟิวเจอริสม์ยังคงมีรูปแบบการแสดงออกแบบเก่า ส่วนพวกดาดาชอบการประชดประชัน ดูถูกเหยียดหยาม

ศิลปะ เซอร์เรียลลิสม์

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า เซอร์ กันมาบ้าง แต่งตัวเซอร์ ๆ ทำตัวเซอร์ ๆ อะไรทำนองนี้ คำว่าเซอร์ นี่ก็มาจากศิลปะแนวเซอร์เรียลิสม์ นี่เอง มีความหมายว่าเหนือความจริง เพราะศิลปะแนวนี้ถ่ายทอดเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความฝันออกมา ว่ากันว่า ความฝันนั้นเป็นสิ่งที่จริงแท้เสียยิ่งกว่าความจริง เป็นสุดยอดของความเป็นจริง เซอเรียลิสม์ได้วิวัฒนาการมาจากพวกดาดาอิสม์ในเรื่องราวของการมองความจริงอันพิสดาร ศิลปินมองเห็นว่าโลกความเป็นจริงที่เห็นอยู่เป็นภาพมายาทั้งหมด (แต่กลับเห็นความฝันเป็นเรื่องจริง ออกจะสับสนอย่างไรไม่รู้)

นี่เป็นการเคลื่อนไหวของศิลปะแบบหนึ่ง ที่มีความคิดพ้องตามทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก ซึ่งเราฝังความอยากอันมิได้ขัดเกลาเอาไว้ จนเกิดทำให้รู้สึกว่าความป่าเถื่อนยังมิได้หายไปจากมนุษย์ หากแต่หลบอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

งานเซอร์เรียลิสม์มีความสำคัญอยู่ที่ การแสดงออกของจิตใต้สำนึกอย่างอิสระ

ปราศจากการควบคุมของเหตุผล มีความฝันและอารมณ์ จินตนาการ ค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางกามวิสัย หลักการของเซอร์เรียลิสม์ คือ จินตนาการเป็นส่วนสำคัญของการแสดงออก จินตนาการ คือ จิตไร้สำนึก และจิตไร้สำนึกเป็นภาวะของความฝัน ที่มีขบวนการต่อเนื่องกันซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะได้ สิ่งที่เราเห็นจากโลกภายนอกขณะตื่น เป็นเพียงปรากฏการทางการแทรกแซง

ความงามของพวกเขาคือ ความมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์เพียงอย่างเดียวที่สามารถสร้างศิลปะให้สมบูรณ์ได้ และยังให้ความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความหมายต่อความรู้สึกของมนุษย์

ศิลปะ ซูพรีมาตีสม์

รูปสี่เหลี่ยมสีขาว บนพื้นจัตุรัสสีขาว เพียงเท่านี้เองที่ผู้ชมต่างมองเห็น มันคืออะไร ภาพนี้ไม่ได้บอกเรื่องราวใด ๆ เลย ไม่มีสมุด ไม่มีต้นไม้ ไม่มีคน

ซูปรีมาติสม์ เป็นรูปแบบของศิลปะที่แสดงความรู้สึกบริสุทธิ์อย่างสูงส่ง ปรากฏเป็นศิลปะที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์ ไม่คำนึงถึงรูปร่างแท้จริงของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา แต่คำนึงถึงความรู้สึกของวัตถุนั้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ เมื่อไม่คำนึงถึงรูปร่าง เห็นว่ารูปร่างนั้นไม่แน่นอน การเขียนภาพจึงยึดบริเวณว่างเป็นหลัก เรื่องราวที่แสดงจะเกี่ยวกับอวกาศ แรงดึงดูด แม่เหล็กไฟฟ้า เรขาคณิต ทิศทาง และลักษณะพื้นผิว

Kashmir Malevich เป็นศิลปินผู้วางแนวทาง เขาวางทฤษฎีไว้ว่า กำหนดวิธีเขียน และกรรมวิธีอื่น ๆ อยู่ในรูปทรงเรขาคณิตแบบง่าย เช่นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือกากบาท ศิลปินยึดหลักที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในโลก ไม่มีความหมายในตัวเองเลย จุดสำคัญส่วนใหญ่คือ ความรู้สึกของผู้ดูเมื่อพบสิ่งต่าง ๆ ในโลกรอบ ๆ ตัวต่างหาก ความรู้สึกนี้จะปรากฏเด่น สร้างความคิดสร้างสรรค์ สะเทือนใจมนุษย์มากกว่ารูปร่างของวัตถุนั้นๆ

ศิลปะสมัยก่อน เป็นศิลปะที่สอนคนส่วนใหญ่ มีความมุ่งหมายเพื่อสนองความไม่อุ่นใจของมนุษย์ แต่ซูปรีมาติสม์เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความรู้สึก ซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลจะพึงใช้ความรู้สึกของตนสร้างความสดชื่นให้ชีวิต

ดังนั้นภาพ Suprematism ผู้ชมต้องปล่อยความคิดให้มีอิสรเสรี สร้างความรู้สึกร่วมไปกับมัน

การตีความภาพนั้นขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาและประสบการณ์ของตน ผู้ชมจะไม่ถูกบังคับให้ต้องเห็นอย่างที่ศิลปินอยากให้เห็น ศิลปินจะปล่อยให้ผู้ชมมองเห็นได้อย่างเสรีโดยไม่มีการครอบงำความคิดจากรูปทรงวัตถุ



ศิลปะ ป๊อป อาร์ต

ศูนย์กลางความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่ที่ยุโรปยาวนานร่วม ๆ พันปี นับตั้งแต่ยุคกลางมา แต่พอมาถึงศตวรรษที่ 20 ฝั่งเอมริกาก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ และวัฒนธรรมของอเมริกาก็ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลกอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูด เป็นสื่อนำ ภาพยนตร์นี้ก่อให้เกิดดารา แฟชั่น การโฆษณา และเพลงประกอบ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนรุ่นใหม่ไปทั่วทั้งโลก

ป็อบอาร์ตถือกำเนิดขึ้น ป็อบอาร์ต เป็นแบบอย่างของศิลปะที่สะท้อนพลังสภาพแท้จริงของสังคมปัจจุบัน ตามความรู้สึกความเข้าใจของสามัญชนทั่วไป ในชั่วขณะหนึ่ง เวลาหนึ่ง เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับความชุลมุนวุ่นวายของสังคม พลุ่งประดุจพลุ ชอบวันนี้ พรุ่งนี้ลืมอะไรทำนองนี้

กลุ่มศิลปินที่สร้างสรรค์งานชนิดนี้เชื่อว่า ศิลปะสร้างขึ้นจากสิ่งสัพเพเหระ ของชีวิตประจำวัน เป็นการแสดงความรู้สึกของประสบการณ์ที่พบเห็นของศิลปินในช่วงเวลานั้น ขณะนั้น ณ ที่แห่งนั้น

เรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอมีแตกต่างกันไป เช่นบางคนเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ดารายอดนิยม บ้างก็เขียนเรื่องเครื่องจักร บ้างก็เขียนภาพโฆษณา เรื่องง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัวจึงทำให้หลาย ๆ คนเห็นว่างานแนวนี้ไม่ควรค่าแก่คำว่าศิลปะ เพราะมันเป็นความนิยมแค่ชั่ววันชั่วคืน ตื่นเต้นฮือฮาพักหนึ่งก็จางหาย

อย่างไรก็ตามกลุ่มที่นิยมในแนวนี้ก็ยังคงยืนยันว่ามันคือศิลปะ เขาอ้างว่า สิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะแน่นอน เพราะผลงานนั้นกระตุ้นให้เราตอบสนองทางความรู้สึกอย่างนั้น ที่จริงแล้ว สิ่งที่เรารู้ว่าเป็นศิลปะ คือ สิ่งที่ศิลปินสร้างสรรค์ พวกเขามีความเชื่อเกี่ยวกับสุนทรียภาพว่า สุนทรียภาพ คือความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับสภาพต่าง ๆ ที่ปรากฏในโลกของอุตสาหกรรม โลกชนบท และโลกเศรษฐกิจ ศิลปินพยายามตอบสนองโลกที่แวดล้อมภายนอกเหล่านี้โดยแสดงความรู้สึกด้วยภาพ ซึ่งใช้วิธีการของแอบแสตรกบ้าง เอ็กซเพรสชั่นนิสม์บ้าง คิวบิสม์บ้างตามความเหมาะสม





ศิลปะ อ๊อป อาร์ต

ศิลปะอ๊อปอาร์ต เป็นศิลปะที่มุ่งถึงสายตา การมองเห็น เรื่องตาเป็นเรื่องสำคัญของศิลปะแบบนี้ การรับรู้ทางตา เป็นปัญหาที่พยายามค้นคว้ากันอยู่เสมอ นักจิตวิทยาบางคนพยายามที่จะทดลองหาข้อเท็จจริงว่า ตาหรือสมองกันแน่ ที่เป็นสื่อกระตุ้นประสาทการรับรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยพยายามที่จะหาข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเห็น การคิด ความรู้สึกและความจำ แต่ก็ไม่สามารถวิเคราะห์ออกจากกันได้ว่าอันไหนสำคัญกว่า

เมื่อยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าตาหรือสมองสำคัญกว่ากัน ศิลปินอ๊อปอาร์ต จึงเลือกเชื่อตามความคิดของตนว่า ตามีความสำคัญกว่า เน้นการเห็นด้วยตา เป็นข้อสมมติฐานในการแสดงออกทางศิลปะ แนวคิดของงานอยู่บนความเชื่อที่ว่า จิตรกรรมประกอบด้วยเส้น และสี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เส้นและสีต้องมีการแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่เลียนแบบธรรมชาติ เส้นและสีต้องมีความกลมกลืนกัน

จิตรกรรมปรากฏบนระนาบผิวหน้าของผ้าใบ ซึ่งเป็นบริเวณที่รวบรวมรูปแบบและความรู้สึกของจิตรกรรม ดังนั้นระนาบผิวหน้าจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติไม่ลอกเลียนวิชา เปอร์สเปคตีฟ (เป็นเรื่องของเส้นสายตาที่มองใกล้ ไกล สิ่งที่อยู่ใกล้ใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลเล็กเป็นต้น) แต่จะต้องรู้สึกตื้นลึกด้วยตัวมันเอง

ศิลปินที่พยายามแสดงความรู้สึกของตนอย่างเสรี จะยึดรูปทรงง่าย ๆ เป็นหลัก ยิ่งง่ายยิ่งเป็นสากล สียิ่งบริสุทธิ์ก็ยิ่งเป็นสากล สีที่บริสุทธิ์คือแม่สีเบื้องต้นที่ไม่ได้เกิดจากการผสมจากสีอื่น

อ๊อปอาร์ตได้รับอิทธิพลจากกลุ่มฟิวเจอริสม์ ซึ่งย้ำเน้นถึงความเคลื่อนไหว ความเร็ว และวิทยาศาสตร์แขนงฟิสิกส์เป็นอันมาก อ๊อปอาร์ดจะเน้นความเคลื่อนไหวของรูปแบบให้เป็นจิตรกรรม โดยวิธีการซ้ำๆกันของส่วนประกอบทางศิลปะ เพื่อให้ผู้ดูตระหนักในความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบศิลปะที่สะท้อนภาพสังคมปัจจุบัน

แบบอย่างของอ๊อปอาร์ดนอกจากจะเป็นจิตรกรรมแล้ว ในวงการอุตสาหกรรมแบบอย่างของออปอาร์ตก็มีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันอยู่มาก ในรูปแบบของลายผ้า การตกแต่ง เวที การจัดร้านต่างๆเป็นต้น

ศิลปะยังคงดำเนินต่อไปอย่างสอดคล้องต่อชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลง คือ นิรันดร์ การจะโหยหาให้อนุรักษ์แต่ของดั้งเดิมอย่างไม่ลืมหูลืมตานั่นเพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ หากจะอนุรักษ์แบบนั้นก็ต้องอนุรักษ์วิถีชีวิตด้วย เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน ศิลปะจะไม่เปลี่ยนได้อย่างไร มันผิดหลักธรรมชาติของมนุษย์ ปัญหาจึงอยู่ที่จะปรับเปลี่ยนศิลปะไปในทิศทางใด เพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างดีที่สุดต่างหาก



ยุคของศิลปะ


อารยธรรมของมนุษย์ดำเนินมาอย่างยาวนาน มีวิวัฒนาการมาเรื่อย เราอาจจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกทางตัวอักษร แต่ไม่เสมอไป บางยุคบางสมัย ไม่พบหลักฐานในการใช้ตัวหนังสือ บางยุคก็เป็นอักษรโบราณที่คนปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงทำได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ ศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรม เพราะงานศิลปะ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยแท้จริง มนุษย์นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และการตกแต่งประดับประดาเพื่อความสวยงาม หรือแม้กระทั่งความรื่นรมย์

ยุค ก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็คือ ยุคที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ ศิลปกรรมในยุคนี้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางด้านความเชื่อ และสัญชาตญาณ ในระยะแรก ๆ จะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ แล้วต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของตนลงไป

งานทางด้านจิตรกรรมจะปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ มีทั้งรูปมือ รูปคน รูปลายเรขาคณิต แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นรูปสัตว์

ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่จะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น พวกภาชนะใส่ของ ใบมีดที่ทำจากเปลือกหอยน้ำจืด ขวานกำปั้นซึ่งทำจากหิน อาวุธต่าง ๆ ที่ทำจากกระดูกสัตว์ อาทิ ลูกศร ปลายหอก ฉมวก แต่ก็พบรูปแกะสลักหินอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือเพื่อขอบุตร

รูปสลักที่มีชื่อเสียงคือ วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (ออสเตรีย)

วีนัสแห่งเวสโทนิค (เชก)

และวีนัสแห่งลอเซล (ฝรั่งเศส)

สถาปัตยกรรมคงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด น่าฉงนฉงายเป็นที่สุด เพราะไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเพื่ออะไร มีแต่การคาดเดาไปต่างๆนานา สถาปัตยกรรมได้แก่

พวกหินตั้ง (Menhir) เป็นหินก้อนเดียวโดด ๆ วางตั้งอยู่

โต๊ะหิน (Stone hence) ประกอบด้วยหินสองแท่งหรือมากกว่าวางตั้งอยู่ และมีหินก้อนวางพาดอยู่ข้างบน โครงสร้างลักษณะนี้เรียกว่าโครงสร้างแบบวางพาด ซึ่งจะพบได้ในสถาปัตยกรรมในยุคต่อ ๆ มา

หินตั้งล้อม (Stone circle) ประกอบด้วย โต๊ะหินต่อเนื่องกันล้อมเป็นวงกลม

Alignments คือ หินตั้งเรียงกันเป็นแถวยาว

ยุค อียิปต์

ในยุคอิยิปต์มีตัวอักษรใช้กันแล้ว เรียกว่า อักษรภาพ ดังนั้นจึงจัดอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมของชาวอิยิปต์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สร้างขึ้นตามแรงบันดาลใจทางศาสนาและความเชื่อ ศิลปกรรมมีลักษณะมั่นคง ถาวร ดังจะให้คงอยู่จวบจนถึงวันสิ้นโลกอะไรอย่างนั้น ยุคนี้มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมาก คงไม่มีใครไม่รู้จักปิรามิด ปิรามิดที่พบมักจะสร้างเพื่อเก็บสมบัติและพระศพของฟาโรห์ ซึ่งก็คือผู้ปกครองประเทศนั่นเอง (มีนักวิชาการบางท่านบอกว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของปิรามิดไม่ได้มีไว้เพื่อฝังศพ) แต่ก่อนที่จะมีปิรามิดนั้นยังมี มาสตาบา มาก่อน และนี่แหละคือที่ฝังศพที่เก่าแก่ที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นปิรามิด นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ วิหารสร้างตามภูเขา และใช้โครงสร้างแบบวางพาด

ด้านประติมากรรมก็เป็นรูปแกะสลักรูปบุคคลที่เคารพนับถือ ทำไว้เพื่อเคารพบูชา จะใช้วัสดุที่ทนทานมีคุณค่า ส่วนงานทางด้านจิตรกรรมก็เป็นงานตกแต่งสุสานฝังศพ ทั้งบนหีบศพและตามผนังต่างๆ แสดงเรื่องราวพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะการจัดวางภาพคนจะแสดงให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างในเวลาเดียวกัน คือ เห็นลำตัวด้านหน้า แต่ใบหน้า แขน ขา แสดงให้เห็นด้านข้าง อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของศิลปะอิยิปต์ ชนชาวอิยิปต์มีความสามารถในการประดิษฐ์ตกแต่งเครื่องประดับ รู้จักทำน้ำยาเคลือบ รู้จักลงยา และนำลวดลายตามธรรมชาติมาดัดแปลง ประกอบอย่างเหมาะสม

ยุค เมโสโปเตเมีย

อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ประกอบด้วยชนชาติ ซูเมอเรียน บาบิโลเนีย แอสสิเรีย และเปอร์เซีย ตามลำดับ เริ่มจากซูเมอเรียนและบาบิโลเนีย ชนกลุ่มนี้เป็นพวกที่วางรากฐานความเจริญด้านวัฒนธรรมไว้มากมาย พวกเขารู้จักสร้างกำแพงเมือง (อาจเป็นเพราะมีการสู้รบกันบ่อย) และทำนบกั้นน้ำ มีความสามารถในการเพาะปลูก เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนคือแอสสิเรีย ส่วนล่างคือบาบิโลน ซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่าตอนบน เนื่องจากในดินแดนแห่งนี้ประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ ต่างความคิด ต่างความเชื่อ จึงมีการสู้รบแย่งชิงอำนาจอยู่บ่อยครั้ง

ศิลปกรรมมีความสอดคล้องกับความเชื่อ พวกเขาเชื่อในอำนาจของพระเจ้าตามธรรมชาติ เคารพดวงดาว แม่น้ำ ปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่หาคำตอบไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลด้วยเหมือนกัน

งานด้านสถาปัตยกรรมมักสร้างให้สูงใหญ่เหมือนภูเขา นิยมประดับแก้วหินในสถาปัตยกรรมนั้น ๆ ด้วย สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นได้แก่ ซิกกูรัตแห่งเมืองอูร์ ประติมากรรมมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องราวกิจกรรมของพระมหากษัตริย์ มีการประดับเปลือกหอย หินสี มีความสามารถในการแสดงออกและเลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสม งานจิตรกรรม เขียนง่าย ๆ ไม่เน้นรายละเอียดไม่มีแสงเงา มีความคล้ายคลึงกับอิยิปต์อยู่เหมือนกันตรงการจัดวาง คือ ภาพหน้าคน แขน ขาจะหันข้างแต่ลำตัวหันด้านหน้า นอกจากนี้พวกเขายังมีอักษรใช้เช่นกัน อักษรของพวกเขาเรียกว่าอักษรลิ่ม

ยุค กรีก

ศิลปกรรมของกรีกจะยึดมั่นในเหตุผลและความสมบูรณ์ของมนุษย์ ต่างจากพวกอิยิปต์และเมโสโปเตเมียที่ใช้ศิลปกรรมไปในทางบูชา เซ่นสรวง เกี่ยวกับศาสนา พวกกรีกถือว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นความงามตามธรรมชาติดุจเช่นเดียวกับภูเขา ต้นไม้ สายน้ำ ดังนั้น ศิลปกรรมของชาวกรีกจึงแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายมนุษย์อย่างชัดเจน งานประติมากรรมภาพคนจะแสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ปราศจากเครื่องนุ่มห่ม

ด้านสถาปัตยกรรม แรก ๆ นิยมเอาไม้มาเป็นวัสดุก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของชาวกรีกจะมีไว้รับใช้สังคมเป็นส่วนมาก เช่น สถานแสดงกีฬา โรงละคร วิหาร ลักษณะการตกแต่งภายนอกได้แก่หัวเสานั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้

1. ดอริค มีลักษณะใหญ่ ทรงป้อม

2. ไอโอนิค ลักษณะชะลูด ทรงสูง

3. โครินเธียน มีลักษณะคล้ายทรงของพืช

งานด้านจิตรกรรมพบได้บนผนังต่างๆ และบนภาชนะ มีลักษณะเด่นๆคือ
1. แสดงความรู้สึกตื้นลึกด้วยการเขียนซ้อนกัน
2. ใช้สีจำกัดและแบน
3. ใช้ลวดลายประกอบกิจกรรมรูปคน
4. เรื่องราวของภาพประกอบในไหเป็นเรื่อง อิเลียดและโอดิสซี แบ่งเป็นตอนๆ
5. นิยมใช้สีดำและสีแดงเขียนด้วยน้ำยาเคลือบ
6. ลักษณะง่าย ชัดเจน

ยุค อีทัสคัน และโรมัน
อิทรัสคัน เป็นชนชาติที่อยู่บนแหลมอิตาลี พวกเขามีความเป็นนักรบชั้นยอดในขณะเดียวกันก็เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมด้วย ลักษณะงานทางสถาปัตยกรรมนิยมวางผังเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมง่าย ๆ ใช้โครงสร้างแบบวางพาด (อีกเช่นเคย) มีการนำอิฐมาก่อสร้าง มีการสร้างท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ ภายหลังพัฒนาจนมีประตูโค้ง เพดานโค้ง มีการเปลี่ยนแปลงหัวเสามาเป็นแบบของตัวเอง เรียกว่า ทัสคัน

งานประติมากรรมมีการเน้นส่วนละเอียด เน้นรูปทรงตามวัสดุ ชำนาญการหล่อโลหะโดยเฉพาะโลหะสำริด ส่วนงานด้านจิตรกรรมมีลักษณะเป็นสีแบน เขียนตามผนังประดับที่ฝังศพ ได้รับอิทธิพลมาจากกรีก และอิยิปต์

เมื่ออิทรัสคันเสื่อมอำนาจลง พวกโรมันก็เรืองอำนาจและเข้าปกครองแหลมอิตาลีแทน โรมันอาจได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ทางการทหาร แต่ทางด้านศิลปกรรมกลับอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรีกและอิทรัสคัน ศิลปะของพวกโรมันคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยต่อสาธารณชนมากกว่าความงดงาม

สถาปัตยกรรมของพวกเขามีลักษณะโค้ง เป็นโดม รับกับคาน มีการผสมผสานหัวเสาแบบไอโอนิคกับโครินเธียนเข้าด้วยกัน เป็นหัวเสาแบบคอมโพสิท และยังคิดหัวเสาแบบทัสแคน (ซึ่งคล้ายๆกับหัวเสาดอริค) ขึ้นมาอีกด้วย

พวกเขามีโฟรุม คือจัตุรัสที่พบปะและสังสรรค์ของประชาชนทางกฎหมายและธุรกิจต่าง ๆ

มีบาสิลิกา เป็นอาคารขนาดใหญ่ ใช้เป็นศาลยุติธรรมหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ

มีโคลอสเซียม เป็นสนามกีฬา มีโรงละคร และสถานที่อาบน้ำ มีการสร้างท่อลำเลียงน้ำ มีประตูชัย สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือ วิหารแพนธีออน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้าโรมัน

ประติมากรรมของโรมันมีความสำคัญในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความรู้สึกบนใบหน้าคนจะแสดงออกได้ดีกว่ากรีก แต่โดยภาพรวมทั้งหมดงานของกรีกจะดูสมบูรณ์แบบกว่า งานทางด้านจิตรกรรมใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรม มีทั้งภาพระบายสีและงานประดับโมเสค มีการสร้างภาพลวงให้มีระยะใกล้ไกล มีแสงและเงา

ยุค กลาง

ยุคกลางนี้บางครั้งก็จะเรียกว่า ยุคมืด นั่นเพราะว่ายังไม่ได้มีการค้นพบลักษณะเด่นๆมากนัก สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงคือ วิหารเซนต์มาร์ติน ในฝรั่งเศส ซึ่งแสดงว่ายังใช้โครงสร้างแบบวางพาดอยู่ สถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนบุคคลมักจะสร้างให้ใหญ่โต มีกำแพงสูงและหนา มั่นคงแข็งแรง พยายามสร้างความสมบูรณ์ของชีวิตมากที่สุด

ด้านประติมากรรมสร้างเพื่อตกแต่งผนัง ไม่นิยมสัดส่วนตามธรรมชาติ ด้านจิตรกรรมยังคงเป็นภาพผนัง มีภาพคนเหมือนบ้าง และมีการจัดทำเอกสารประกอบภาพเขียนระบายสีอย่างงดงาม ยุคกลางนี้ บ้างก็แบ่งสมัยตามกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครอง เป็นสมัยคาโรลิงเจียน สมัยออตโตเนียน และสมัยโรมาเนสค์

ยุค โกธิค

นักวิจารณ์ในยุคฟื้นฟูเห็นว่ายุคนี้เป็นความต่ำต้อย ขาดรสนิยมทางศิลปะ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกรีก และโรมัน แต่พวกศิลปินเห็นว่านี่เป็นศิลปะแบบใหม่ที่มีแบบเฉพาะของตัวเอง เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม

สถาปัตยกรรมนิยมสร้างให้มีรูปทรงสูงชะลูด ใช้โค้งหลังคาแบบต่าง ๆ เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักของหลังคาลงบนเสา และผนัง ประติมากรรมส่วนใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบสถาปัตยกรรมอีกที เป็นเรื่องราวทางศาสนาและมีลักษณะสูงชะลูด เป็นแบบลอยตัวยื่นออกมาจากผนังหรือกำแพง

งานจิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นการเขียนภาพประกอบหนังสือ และที่โดดเด่นเห็นจะเป็นการเขียนภาพบนกระจกสี เรียกว่า Stained glass ประดับบริเวณเหนือประตู หน้าต่าง เพื่อให้แสงส่องผ่าน งานจิตรกรรมในยุคนี้ใช้สีสดใส สว่าง มีลายเส้นวิจิตร และมีองค์ประกอบง่าย ๆ แต่ดึงดูดใจมาก

สมัย ฟื้นฟู

ในยุคนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่อิตาลี เป็นการนำศิลปะของกรีก และโรมันมาปัดฝุ่นใหม่ อีกทั้งยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการด้านอื่นๆทุกแขนง ด้วยความเชื่อที่ว่า มนุษย์คือศูนย์กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล และถือว่าคุณค่าของมนุษย์อยู่ที่ความรู้ ความคิด ความสามารถของตนเอง

สถาปัตรยกรรมนำเอาหลังคาโค้ง เสาแบบต่าง ๆ ของกรีกมาปรับปรุง ทำให้มีลักษณะเฉพาะขึ้น ประติมากรรมก็เช่นเดียวกัน และมักสร้างขึ้นประกอบสถาปัตยกรรม

จิตรกรรมสมัยนี้เน้นเรื่องราวของชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภาพคนจะมีความโดดเด่นเป็นประธานของภาพ ด้านหลังอาจจะเป็นภาพภายในตัวอาคาร หรือไม่ก็ภูมิประเทศ มีการใช้แสงเงาที่เหมือนจริง เก็บรายละเอียดของพื้นผิวต่าง ๆ ประณีตงดงาม

ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้แก่ Davinci , Michelangelo , Raphael เรียกว่า เป็นสามยอดอัจฉริยบุคคลที่เกิดมาร่วมเมืองร่วมสมัยเดียวกัน

สมัย บารอค

ศิลปะแบบบารอคจะเน้นหนักไปทางธรรมชาติ แสดงความอ่อนไหว มีลวดลายประดิษฐ์มาก ซับซ้อน

คำว่า บาโรค มาจากภาษาโปรตุเกส ที่แปลว่า รูปร่างของไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะงานสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมที่มีการตกแต่งประดับประดา และให้ความรู้สึกอ่อนไหว

หลังจากบารอคก็มีศิลปะแบบ รอคโคโค ตามมา มีลักษณะคล้ายคลึงกับบาโรคเพียงแต่เน้นที่ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น จิตรกรที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ รูเบนส์ , เรมบรานด์ , เวลาสเควซ เป็นต้น

ศิลปะในแบบบาโรค และรอคโคโคนั้นใกล้เคียงกันมาก มีบางคนได้เปรียบเปรยว่า ถ้าบาโรคเหมือนกับบุรุษเพศที่มีความองอาจ สง่างาม รอคโคโคก็เหมือนกับสตรีเพศที่มีความงดงามที่นุ่มนวลและอ่อนช้อย คำกล่าวนี้คงจะพอทำให้เข้าใจถึงศิลปะทั้งสองแบบได้ดียิ่งขึ้น

สมัย คลาสสิก

ในสมัยคลาสสิก เป็นยุคที่ยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมีสงครามเป็นแรงผลักดัน ในทางปรัชญาถือว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งเหตุผล (แม้ว่าหลาย ๆ คนจะเห็นว่าสงครามเป็นเรื่องไร้เหตุผลก็ตาม)

ดังนั้นงานศิลปะในยุคนี้จึงเป็นงานที่เน้นทางด้านเหตุผลด้วยเช่นกัน

Jacques Louis David จิตรกรผู้ที่ถือว่าเป็นผู้นำในศิลปะคลาสสิกนี้ กล่าวไว้ว่า ศิลปะคือดวงประทีปของเหตุผล ลักษณะงานต้องมีความถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีความคิดสร้างสรรค์ตามเรื่องราวที่มีเหตุผล ให้ความสำคัญกับการจัดภาพ

สมัยโรแมนติก

แนวความคิดของศิลปะโรแมนติกนั้นต่างจากพวกคลาสสิกกันคนละขั้ว เพราะโรแมนติกยึดมั่นในเรื่องของจิตใจ ถือว่าจิตเป็นตัวกำเนิดของตัณหา อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นความจริงของมนุษย์มากกว่าการยึดมั่นในเหตุผลตามแนวคิดของคลาสสิก พวกศิลปินเชื่อว่า ศิลปะสร้างสรรค์ตัวของมันเองได้ และต้องมีคุณค่าทางอารมณ์มากกว่าเหตุผล

ศิลปะต้องสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เสพและผู้สร้าง มุ่งสร้างศิลปะเพื่อให้กลมกลืนกับชีวิต มุ่งที่ความ"กลายเป็น"ตัดกับความ"เป็นอยู่"

งานทางด้านจิตรกรรมจะแสดงความตัดกันของน้ำหนักแสงและเงา ใช้สีที่ตัดกัน จิตรกรที่สำคัญได้แก่ Theodore Gericault , Eugene Deracroix ในงานจิตรกรรมนี้เป็นช่วงเวลาระหว่างค.ศ.1820-1850

สมัย เรียลลิสม์

ศิลปะมักเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลมกลืนกับสภาพชีวิตในแต่ละยุคสมัย

ศิลปะคลาสสิก และโรแมนติก ยังคงยึดแนวของกรีกและโรมันอยู่ไม่น้อย

ศิลปินรุ่นหลังเห็นว่า ศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต ยังคงลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ หาใช่ความจริงไม่

ดังนั้นการสร้างงานในยุคต่อมา ซึ่งเราเรียกกันว่า เรียลลิสม์ นั้น จึงสร้างงานตามสภาพความเป็นจริงศิลปินเชื่อว่าความงามอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในที่เลิศหรูเช่นพระราชวัง หรือที่เรียบง่ายตามชนบทก็ตาม อีกทั้งยังเชื่อกันว่าศิลปะนั้นสอนกันไม่ได้ เพราะศิลปะเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ศิลปะ คือ การเลียนแบบตามตาเห็น ศิลปินควรบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในยุคสมัยของตนเอาไว้ ไม่ใช่สร้างงานแบบโบราณนิยม (ถือว่าเป็นการปฏิเสธแนวคลาสสิกและโรแมนติคอย่างเห็นได้ชัด)

ศิลปินอย่าง โกยา อยู่ในช่วงรอยต่อของโรแมนติก และเรียลลิสม์ งานของเขาแสดงออกทั้งความเป็นจริงและแสดงออกถึงความสะเทือนอารมณ์ (โรแมนติก) ไปพร้อม ๆ กัน โกยาให้ทัศนะคติไว้ว่า ในธรรมชาติไม่มีใครเห็นเส้น มีแต่รูปทรงที่สว่างและมืด ระนาบใกล้ ไกล กลวง และยื่นโปนออกมา ทัศนะเช่นนี้จะปรากฏได้ชัดในงานยุคหลังถัดจากนี้ไป

เนื่องด้วยในช่วงเวลานี้ยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจและสังคม ชนชั้นกรรมาชีพก็เพิ่มมากขึ้น ศิลปินจึงสะท้อนภาพความลำบากของชนชั้นเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้แก่ โดมิเยร์ , มิเลท์ , กูร์เบท์

สมัย อิมเพรสชั่นนิสม์

งานเรียลลิสม์ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ลามไปเหมือนไฟลามทุ่ง จนกลายเป็นแฟชั่นที่นิยมกันทั่วไปจนดูเฟ้อ ในขณะที่คนกำลังเริ่มเบื่อหน่ายพลันเกิดศิลปะแนวใหม่ขึ้นมา นั่นคือ ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นศิลปะที่เขียนภาพทิวทัศน์ได้อย่างสมจริงสมจังที่สุด กล่าวคือ สามารถสะท้อนบรรยากาศ เวลา ความเคลื่อนไหวของผิวน้ำ อากาศ ออกมาได้เป็นอย่างดี แต่เทคนิคในการเขียนนั้นหยาบกระด้าง โชว์ฝีแปรงให้เห็นชัด ๆ โดยไม่มีการเกลี่ย ต่างจากการเขียนรูปในแบบเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง จนหลาย ๆ คนปรับตัวรับไม่ทัน

อิมเพรสชั่นนิสม์ได้เข้าถึงจุดสุดยอดของเรื่องแสง ก่อนหน้านั้น ศิลปินจะสร้างภาพให้มีระยะตื้นลึกโดยใช้เส้นเป็นสื่อนำสายตา แต่ศิลปินกลุ่มนี้เพิ่มเติมมิติของอากาศลงไป พวกเขานำหลักทฤษฎีสี แสงอาทิตย์มาช่วยให้สีมีความกระจ่างสดใสมากขึ้น พวกเขาจะไม่ใช้สีดำ เพราะถือว่าสีดำไม่มีในธรรมชาติ เน้นรูปทรงที่เกิดขึ้นด้วยแสงและเงา รวมทั้งแสงที่สะท้อน และเงาที่ตกทอดด้วย

ศิลปินจะถือธรรมชาติเป็นใหญ่ ขจัดความฝัน จินตนาการหรืออารมณ์ส่วนตัวออกไป ยึดหลักทฤษฎีสี เคารพสีแสงที่อยู่ต่อหน้า พยายามจับแสงสีในอากาศให้ได้สภาพของกาลเวลา มุ่งที่ความประทับใจในฉับพลัน

สมัย โพสท์ – อิมเพรสชั่นนิสม์

หลังจากอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ยังมีโพสท์-อิมเพรสชั่นนิสม์ตามมา ศิลปินกลุ่มนี้ ได้เกิดปฏิกิริยาต่องานอิมเพรสชั่นนิสม์ พวกเขาทำงานตามความคิด ความเชื่อมั่นของตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์หรือจัดเป็นกลุ่ม (ออกจะทะเลาะกันด้วยซ้ำไป) งานแตกต่างกันไปคนละอย่าง

แต่ในความต่างนั้น มีความเหมือนอยู่ที่แนวความคิดในการค้นหา และเน้นความสำคัญของรูปทรงใหม่ ๆ สีทุกสีย่อมมีคุณค่าในตัวของมันเอง ภาพจะต้องมีความเป็นเอกภาพ และที่สำคัญก็คือ มีการแสดงออกของอารมณ์เฉพาะตน

นักวิจารณ์ศิลปะผู้หนึ่งชื่อว่า โรเจอร์ ฟราย ได้กล่าวไว้ว่า ศิลปินกลุ่มนี้ไม่ยอมรับความเชื่อในการเขียนภาพให้มีรายละเอียด หรือการเลียนแบบธรรมชาติ ศิลปินกลุ่มนี้พยายามสร้างรูปทรงใหม่ขึ้นมา โดยที่รูปทรงนั้นมีความสัมพันธ์ต่อชีวิตจริง มีการตัดทอนรูปทรงให้ง่ายขึ้น ภาพทุกภาพแทนที่จะบอกให้ผู้ดูทราบว่าเป็นภาพอะไร อยู่ที่ไหน กลับกระตุ้นผู้ดูให้รู้สึกอย่างไรแทน คล้ายกับมีความรู้สึกคล้อยตามเสียงดนตรีมากกว่าที่จะเข้าใจตามรูปถ่าย (ในสมัยนั้นมีการผลิตกล้องถ่ายรูปแล้ว จริง ๆผลิตมาตั้งแต่ช่วงโรแมนติคตอนปลายนั่นแหละ)

ศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นได้แก่ พอล เซซานน์ (ผู้รับอิทธิพลแนวคิดมาจากโกยาแบบเต็มๆ) , วินเซนต์ ฟาน กอห์ก , พอล โกแกง , ตูลูส โลแตรค

สมัย นีโอ – อิมเพรสชั่นนิสม์

นีโออิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นงานที่เกิดขึ้นจากแนวคิดทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงแสงว่าเป็นทั้งพลังงานและอนุภาค นีโออิมเพรสชั่นนิสม์ใช้แนวคิดที่ว่าแสงเป็นอนุภาค มาสร้างงานในลักษณะการแต้มสีเป็นจุดเล็ก ๆ ลงบนภาพ โดยใช้สีบริสุทธิ์ที่ไม่มีการผสม แต่พวกเขาจะให้สีผสมกันที่สายตาผู้ดู เช่นว่าถ้าต้องการสีเขียว เขาก็จะแต้มสีน้ำเงินกับสีเหลืองคละเคล้ากัน แล้วสีทั้งสองก็จะมาผสมกันเป็นสีเขียวที่สายตาเอง ผู้นำในแนวนี้ได้แก่ จอร์จ เซอราท์
ศิลปินที่ร่วมกลุ่มได้แก่ พอล ซียัค , แมกซีมิเลียน ลูซ , อองรี เอ็ดมองด์ กรอส พวกเขาเชื่อในทฤษฎีของล็อกเคน รูด ที่บอกว่า การผสมสีในดวงตาจะเกิดผลให้ความสว่างสดใสยิ่งกว่าการผสมสีบนจานสี เป็นที่น่าเสียดายที่ศิลปินกลุ่มนี้มีอายุเพียงเจ็ดปี เนื่องจากจอร์จ เซอราท์ผู้นำกลุ่มได้เสียชีวิตลงนั่นเอง



ยุค อียิปต์


ยุค อียิปต์

ในยุคอิยิปต์มีตัวอักษรใช้กันแล้ว เรียกว่า อักษรภาพ ดังนั้นจึงจัดอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมของชาวอิยิปต์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สร้างขึ้นตามแรงบันดาลใจทางศาสนาและความเชื่อ ศิลปกรรมมีลักษณะมั่นคง ถาวร ดังจะให้คงอยู่จวบจนถึงวันสิ้นโลกอะไรอย่างนั้น ยุคนี้มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมาก คงไม่มีใครไม่รู้จักปิรามิด ปิรามิดที่พบมักจะสร้างเพื่อเก็บสมบัติและพระศพของฟาโรห์ ซึ่งก็คือผู้ปกครองประเทศนั่นเอง (มีนักวิชาการบางท่านบอกว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของปิรามิดไม่ได้มีไว้เพื่อฝังศพ) แต่ก่อนที่จะมีปิรามิดนั้นยังมี มาสตาบา มาก่อน และนี่แหละคือที่ฝังศพที่เก่าแก่ที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นปิรามิด นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ วิหารสร้างตามภูเขา และใช้โครงสร้างแบบวางพาด

ด้านประติมากรรมก็เป็นรูปแกะสลักรูปบุคคลที่เคารพนับถือ ทำไว้เพื่อเคารพบูชา จะใช้วัสดุที่ทนทานมีคุณค่า ส่วนงานทางด้านจิตรกรรมก็เป็นงานตกแต่งสุสานฝังศพ ทั้งบนหีบศพและตามผนังต่างๆ แสดงเรื่องราวพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะการจัดวางภาพคนจะแสดงให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างในเวลาเดียวกัน คือ เห็นลำตัวด้านหน้า แต่ใบหน้า แขน ขา แสดงให้เห็นด้านข้าง อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของศิลปะอิยิปต์ ชนชาวอิยิปต์มีความสามารถในการประดิษฐ์ตกแต่งเครื่องประดับ รู้จักทำน้ำยาเคลือบ รู้จักลงยา และนำลวดลายตามธรรมชาติมาดัดแปลง ประกอบอย่างเหมาะสม

ประวัติศาสตร์ศิลปะ


อารยธรรมของมนุษย์ดำเนินมาอย่างยาวนาน มีวิวัฒนาการมาเรื่อย เราอาจจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกทางตัวอักษร แต่ไม่เสมอไป บางยุคบางสมัย ไม่พบหลักฐานในการใช้ตัวหนังสือ บางยุคก็เป็นอักษรโบราณที่คนปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงทำได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ ศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรม เพราะงานศิลปะ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยแท้จริง มนุษย์นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และการตกแต่งประดับประดาเพื่อความสวยงาม หรือแม้กระทั่งความรื่นรมย์

ยุค ก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็คือ ยุคที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ ศิลปกรรมในยุคนี้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางด้านความเชื่อ และสัญชาตญาณ ในระยะแรก ๆ จะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ แล้วต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของตนลงไป

งานทางด้านจิตรกรรมจะปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ มีทั้งรูปมือ รูปคน รูปลายเรขาคณิต แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นรูปสัตว์

ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่จะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น พวกภาชนะใส่ของ ใบมีดที่ทำจากเปลือกหอยน้ำจืด ขวานกำปั้นซึ่งทำจากหิน อาวุธต่าง ๆ ที่ทำจากกระดูกสัตว์ อาทิ ลูกศร ปลายหอก ฉมวก แต่ก็พบรูปแกะสลักหินอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือเพื่อขอบุตร

รูปสลักที่มีชื่อเสียงคือ วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (ออสเตรีย)

วีนัสแห่งเวสโทนิค (เชก)

และวีนัสแห่งลอเซล (ฝรั่งเศส)

สถาปัตยกรรมคงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด น่าฉงนฉงายเป็นที่สุด เพราะไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเพื่ออะไร มีแต่การคาดเดาไปต่างๆนานา สถาปัตยกรรมได้แก่

พวกหินตั้ง (Menhir) เป็นหินก้อนเดียวโดด ๆ วางตั้งอยู่

โต๊ะหิน (Stone hence) ประกอบด้วยหินสองแท่งหรือมากกว่าวางตั้งอยู่ และมีหินก้อนวางพาดอยู่ข้างบน โครงสร้างลักษณะนี้เรียกว่าโครงสร้างแบบวางพาด ซึ่งจะพบได้ในสถาปัตยกรรมในยุคต่อ ๆ มา

หินตั้งล้อม (Stone circle) ประกอบด้วย โต๊ะหินต่อเนื่องกันล้อมเป็นวงกลม

Alignments คือ หินตั้งเรียงกันเป็นแถวยาว

ศิลปะแบบโรแมนติก หรือจินตนิยม ( Romanticism )

เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม

สถาปัตยกรรม นำรูปแบบในอดีตมาดัดแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากแบบโกธิก
ประติมากรรม เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น
รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย ในกรุงปารีส
รูปปั้นสัตว์ มักเป็นรูปสัตว์ป่าสองตัวต่อสู้กัน
จิตรกรรม ใช้ สี เส้น แรเงา รุนแรงมุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่น
ภาพ “อิสรภาพนำประชาชน” ( Liberty Leading the People )
ภาพ “แพของเมดูซา” ( Raft of Medusa )
ดนตรี มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจ เช่นความรู้สึกชาตินิยม นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงคือ เบโทเฟน ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 9” และ ปีเตอร์ อิลยิช ไชคอฟสกี ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 6” เป็นเพลงประกอบบัลเลต์เรื่อง Swan Lake

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักร

1.2 ประเทศแรกที่บุกเบิกคืออังกฤษโดยอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ คือ อุตสาหกรรม การทอผ้า
เครื่องจักรกลไอน้ำ ของ เจมส์ วัตต์

เจมส์ วัตต์

2.การเกิดแนวความคิดทางการเมือง และเศรษฐกิจแบบใหม่

- การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีนักปราชญ์ที่เสนอแนวคิด ดังนี้

จอห์น ล๊อค ชาวอังกฤษกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและ มีอิสระไม่มี ผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจในการคุกคามชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้อื่นได้

มองเตสกิเออ ชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือเรื่อง เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ( The Spirit of Laws ) เสนอความคิดการแบ่งแยกอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เขาเชื่อว่าหากแยกอำนาจสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง แต่ถ้าอำนาจทั้ง 3นี้รวมกันอยู่ในองค์การเดียวกัน อาจจะทำให้เกิดการกดขี่ประชาชน

วอลแตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นนักคิดและมีผลงานด้านการเขียนมากมายให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา ต่อต้าน ความอยุติธรรมในสังคม แต่ในด้านการเมืองไม่เคยแสดงความคิดเห็น อย่างชัดเจน จึงไม่มีทฤษฎีการเมืองที่แน่นอน

รุสโซ ชาวฝรั่งเศส ผลงานหนังสือที่สำคัญคือ สัญญาประชาคม ( The Social Contract ) ข้อความที่จับใจคนเป็นจำนวนมากคือ “มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ แต่ทุกหนทุกแห่งเขาถูกพันธนาการ” รุสโซ เน้นเรื่องเจตจำนงร่วมกันของประชาชน( General Will ) เขาได้รับสมญาว่า “เจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตย”