วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะกรีก

ศิลปะกรีก

ศิลปกรรมขอ งกรีกจะยึดมั่นในเหตุผลและความสมบูรณ์ของมนุษย์ ต่างจากพวกอิยิปต์และเมโสโปเตเมียที่ใช้ศิลปกรรมไปในทางบูชา เซ่นสรวง เกี่ยวกับศาสนา พวกกรีกถือว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นความงามตามธรรมชาติดุจเช่นเดียวกับภูเขา ต้นไม้ สายน้ำ ดังนั้น ศิลปกรรมของชาวกรีกจึงแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายมนุษย์อย่างชัดเจน งานประติมากรรมภาพคนจะแสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ปราศจากเครื่องนุ่มห่ม
ด้านสถาปัตยกรรม แรก ๆ นิยมเอาไม้มาเป็นวัสดุก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของชาวกรีกจะมีไว้รับใช้สังคมเป็นส่วนมาก เช่น สถานแสดงกีฬา โรงละคร วิหาร

ลักษณะการตกแต่งภายนอกได้แก่หัวเสานั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
1. ดอริค มีลักษณะใหญ่ ทรงป้อม
2. ไอโอนิค ลักษณะชะลูด ทรงสูง
3. โครินเธียน มีลักษณะคล้ายทรงของพืช


งานด้านจิตรกรรมพบได้บนผนังต่างๆ และบนภาชนะ มีลักษณะเด่นๆคือ
1. แสดงความรู้สึกตื้นลึกด้วยการเขียนซ้อนกัน
2. ใช้สีจำกัดและแบน
3. ใช้ลวดลายประกอบกิจกรรมรูปคน
4. เรื่องราวของภาพประกอบในไหเป็นเรื่อง อิเลียดและโอดิสซี แบ่งเป็นตอนๆ
5. นิยมใช้สีดำและสีแดงเขียนด้วยน้ำยาเคลือบ
6. ลักษณะง่าย ชัดเจน

ศิลปะเมโสโปเตเมีย

ศิลปะเมโสโปเตเมีย

ผลงานร่วมสมัยกับศิลปะอียิปต์อีกแหล่งหนึ่ง ก็คือดินแดนเมโสโปเตเมีย มีถิ่นกำเนิดในบริเวณที่เรียกว่า ตะวันออกใกล้ (Near East) ได้แก่ บริเวณที่เป็นประเทศ อียิปต์ อิสราเอล ซีเรีย อีรัก อิหร่าน ตุรกี ดินแดนส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย มีความอุดม สมบูรณ์ ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำ เช่น แม่น้ำไนล์ แม่น้ำไทกรีส มีการใช้โลหะบันทึก เรื่องราวบนแผ่นดินเหนียว เป็นอักษรคล้ายรูปลิ่ม เรียกอักษรคูนีฟอร์ม (Cuniform)
ศิลปะเมโสโปเตเมีย ซึ่งแม้จะมีรูปแบบ เนื้อหาความเชื่อที่แตกต่างกับศิลปะอียิปต์ ในรายละเอียดอยู่บ้าง แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็มิได้มีความขัดแย้งกันชนิดตรงกันข้าม ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างทางสังคม มีลักษณะที่สอดคล้องกันอยู่นั่นเอง
อาณาจักร นี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ประกอบด้วยชนชาติ ซูเมอเรียน บาบิโลเนีย แอสสิเรีย และเปอร์เซีย ตามลำดับ เริ่มจากซูเมอเรียนและบาบิโลเนีย ชนกลุ่มนี้เป็นพวกที่วางรากฐานความเจริญด้านวัฒนธรรมไว้มากมาย พวกเขารู้จักสร้างกำแพงเมือง (อาจเป็นเพราะมีการสู้รบกันบ่อย) และทำนบกั้นน้ำ มีความสามารถในการเพาะปลูก เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนคือแอสสิเรีย ส่วนล่างคือบาบิโลน ซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่าตอนบน เนื่องจากในดินแดนแห่งนี้ประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ ต่างความคิด ต่างความเชื่อ จึงมีการสู้รบแย่งชิงอำนาจอยู่บ่อยครั้ง
ศิลปกรรม มีความสอดคล้องกับความเชื่อ พวกเขาเชื่อในอำนาจของพระเจ้าตามธรรมชาติ เคารพดวงดาว แม่น้ำ ปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่หาคำตอบไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลด้วยเหมือนกัน
งานด้านสถาปัตยกรรมมักสร้างให้สูงใหญ่เหมือนภูเขา นิยมประดับแก้วหินในสถาปัตยกรรมนั้น ๆ ด้วย สถาปัตยกรรมที่ โดดเด่นได้แก่ ซิกกูรัตแห่งเมืองอูร์ ประติมากรรมมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องราวกิจกรรมของพระมหากษัตริย์ มีการประดับเปลือกหอย หินสี มีความสามารถในการแสดงออกและเลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสม งานจิตรกรรม เขียนง่าย ๆ ไม่เน้นรายละเอียดไม่มีแสงเงา มีความคล้ายคลึงกับอิยิปต์อยู่เหมือนกันตรงการจัดวาง คือ ภาพหน้าคน แขน ขาจะหันข้างแต่ลำตัวหันด้านหน้า นอกจากนี้พวกเขายังมีอักษรใช้เช่นกัน อักษรของพวกเขาเรียกว่าอักษรลิ่ม

ศิลปะอียิปต์

ศิลปะอียิปต์

ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมส่วนมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย
ลักษณะงานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบนอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว
ลักษณะงานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลัก ขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็ก มักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพ บนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้า หรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย
ลักษณะสถาปัตยกรรมอียิปต์ใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาว อียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตรพิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญ แห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ.510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมากจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์ และหุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม

ลัทธิสัญลักษณ์นิยมเป็นปฏิกิริยาต่อลัทธิธรรมชาตินิยม (Naturalism) และ ลัทธิสัจจะนิยม (Realism) เป็นขบวนการที่ต่อต้านขบวนการอุดมคตินิยมที่พยายามจับความเป็นจริงอย่างละเอียดละออและพยายามยกระดับความธรรมดาขึ้นมาเหนืออุดมการณ์ ขบวนการเหล่านี้สนับสนุนความคิดทางเจตภาพ (spirituality), ทางจินตนาการ และทางความฝัน ทางที่นำไปสู่สัญลักษณ์นิยมเริ่มด้วยปฏิกิริยา[1] นักเขียนบางคนเช่นยอรีส-คาร์ล อุยสมองส (Joris-Karl Huysmans) เริ่มด้วยการเป็นนักธรรมชาตินิยมก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นนักสัญลักษณ์นิยม การเปลี่ยนแปลงของอุยสมองสมาจากความตื่นตัวในความสนใจทางศาสนาและทางเจตนิยม
ในวรรณคดีขบวนการมีรากฐานมาจาก “ดอกไม้แห่งความชั่วร้าย” (Les Fleurs du mal) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1857 โดยชาร์ลส์ โบเดอแลร์ (Charles Baudelaire). การวิวัฒนาการดำเนินต่อมาโดยสเตฟแฟน มาล์ลาร์เม (Stéphane Mallarmé) และพอล แวร์แลน (Paul Verlaine) ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1860 และ 1870 ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1880 ขบวนการก็แสดงออกด้วยการออกคำแถลงอุดมการณ์และการสร้างความนิยมในหมู่นักเขียนในยุคนั้น งานของเอ็ดการ์ แอลเล็น โป (Edgar Allan Poe) ผู้โบเดอแลร์ชื่นชมและแปลงานเป็นภาษาฝรั่งเศส มีอิทธิพลต่อและเป็นแหล่งของภาพพจน์ต่างๆ สาหรับผู้ติดตามขบวนการนี้
สัญลักษณ์นิยมของศิลปะแตกต่างจากขบวนการทางวรรณกรรมตรงที่ สัญลักษณ์นิยมของศิลปะแตกมาจากทางด้านกอธิคของศิลปะจินตนิยม แต่จินตนิยมเป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยอารมณ์และการมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ และสัญลักษณ์นิยมเป็นศิลปะที่คงที่และขลัง

เอาไว้ดู

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดูสะ

การเรียนศิลปะ

<object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/D9g0f9Lajas?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/D9g0f9Lajas?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

ของจริง

ศิลปะตะวันตก

ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (ปัจจุบันรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย) มีรากฐานมาจากศิลปะของอียิปต์ และกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคโบราณของโลก และพัฒนาขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เป็นต้นแบบของศิลปะสากลในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic)
2. ยุคโบราณ (Ancient Age)
3. ยุคกลาง (Middle Age)
4. ยุคใหม่ (Modern Age)

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 ปี – 4,000 ปี ก่อน ค.ศ.

ศิลปะอียิปต์ (Egyptian Art)

เรื่องราวอารยธรรมของอียิปต์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์ และก่อนราชวงศ์ (Pre-dynastic) ของอียิปต์ ชาวอียิปต์ได้สร้างศิลปวัฒนธรรมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาในด้านคุณธรรม และตอบสนองความเชื่อว่าวิญญาณของคนตายจะกลับคืนสู่ร่างกายใหม่ จึงเป็นมูลเหตุของการทำมัมมี่ (mummy) หีบบรรจุศพทำด้วยหิน สร้างอาคารรูปทรงพีระมิด (Pyramids) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่เมืองกีซา ในกรุงไคโร ภายในพีระมิดเป็นที่บรรจุพระศพกษัตริย์คูฟู (Khufu) ฐานพีระมิดยาวด้านละ 756 ฟุต สูง 481 ฟุต กินเนื้อที่ 32 ไร่ สร้างด้วยหินนักกว่าก้อนละ 2 ตัน จำนวน 2,500,000 ก้อนประมาณว่าใช้กำลังคม 1,000,000 คน ผลัดกันสร้างทั้งกลางวัน และกลางคืน ใช้เวลาราว 20 ปี จึงเสร็จ ภายในห้องพีระมิด นอกจากจะบรรจุพระศพของกษัตริย์แล้ว ยังเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติอันมีค่า ผนังภายในตกแต่งด้วยภาพเขียนสี บรรยายด้วยอักษรโบราณ ทำให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ชาวอียปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี กลับด้านบน

2. ยุคโบราณ (Ancient Age) ประมาณ 1,400 ปี ก่อน ค.ศ. –ค.ศ. 100

ศิลปะตะวันออกใกล้ (Ancient Near Eastem Aft)
อียิปต์พัฒนาอารยธรรมเจริญรุ่งเรื่องสุดขีดในลุ่มแม่น้ำไนล์ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนแถบแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรทีส ได้แก่ดินแดนบางส่วนของประเทศอิหร่าน ซีเรีย จอร์แดน และซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน เรียกว่าแคว้นเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) หมายถึงดินแดนในลุ่มแม่น้ำสองสาย ชนชาติดังกล่าวมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกัน ประเทศที่อยู่ในวัฒนธรรมนี้ได้แก่ สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซิเรียน เปอร์เซีย
ลักษณะศิลปกรรมของสุเมเรียนมีความแตกต่างจากศิลปกรรมอียิปต์ คือ อียิปต์ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนสุเมเรียนใช้อิฐเผาก้อนใหญ่ ๆ มาเรียงกัน ดังนั้นสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงมีอิฐเป็นโครงสร้างหลัก สถาปัตยกรรมของสุเมเรียนที่รู้จักกันมากที่สุดคือวิหารใหญ่เรียกว่า ซิกูรัต (Zigurat) เป็นหอสูงแบบตึกระฟ้า มีทางเดินเป็นบันไดวน เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีทางศาสนา

ศิลปะบาบิโลน อยู่ช่วง 700 ปี ก่อน ค.ศ.
มีสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือสวนลอยแห่งบาบิโลน โดยสร้างสวนให้สูงจากพื้นดิน ใช้อิฐซ้อนกันขึ้นไป วางผังลดหลั่นกันและมีความสลับซับซ้อน ตามซุ้มประตูต่าง ๆ ประดับด้วย ภาพสลักขนาดมหึมา ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกทับถมปรักหักพังไปหมดแล้ว เหลือเฉพาะฐานรากบางส่วนเท่านั้น

ศิลปะอัสซิเรียน อยู่ในช่วง 900 ปี ก่อน ค.ศ.
ศิลปกรรมงานแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นรูปสิงโตกำลังกัดเด็กหนุ่มพบในพระราชวังเมืองนิมรุดในอัสซิเรีย งานชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติซกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ประติมากรรมลอยตัวชิ้นสำคัญที่ติดตั้งตามทางเข้าพระราชวังมีขนาดใหญ่โต เป็นรูปสิงโตมีปีก (Winged Lion) ส่วนงานสถาปัตยกรรมของอัสซิเรียน มีอาคารก่ออิฐเป็นโครงสร้างหลัก เป็นรูปโค้งรับน้ำหนักและใช้อิฐและหินก่อเป็นกำแพง ตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง และกระเบื้องเคลือบเป็นรูปสิงโต

ศิลปะเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อน ค.ศ.
อารยธรรมของเปอร์เซียมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งภายในอย่างสวยงาม มีงานประติมากรรมใช้ในการตกแต่งสถาปัตยกรรม ได้แก่ เสาหินวัวคู่ ประดับพระราชวังที่เมืองเปอร์เซโปลิส (Persepolis)

ศิลปะกรีก (Greek Art)

ชาวกรีกเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อินโด-ยูโรเปียนที่อพยพเคลื่อนย้ายลงสู่แหลมบอลข่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงได้ตั้งหลักที่เป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 รัฐใหญ่ที่สำคัญคือเอเธนส์ และสปาตา ชาวกรีกมีการศึกษาศิลปวิทยาจนมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ปรัชญา และการปกครอง ศิลปกรรมกรีกมีความเจริญสูงสุด เป็นแบบฉบับในทางศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน
ศิลปกรรมของกรีกที่สำคัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว มีความงดงามมากแม้จะสร้างมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ก็ไม่มีที่ติว่าควรจะ แก้ไขข้อบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งของวิหารพาร์เธนอน ภายในวิหารตกแต่งด้วยภาพแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม

งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 1. แบบดอริก (Doric) 2. แบบไอโอนิก (Ionic) 3. แบบคอรินเทียน (Corinthian)

งานทางด้านประติมากรรมของกรีก นิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง (Realistic) โดยเฉพาะสรีระของคนเรา ชาวกรีกถือว่ามีความงดงามยิ่ง ชาวกรีกจึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน (Myron) ประติมากรรมโลหะสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม เป็นรูปเปลือยที่มีส่วนสัดของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างงดงาม

ศิลปะโรมัน (Roman Art)
ศิลปะโรมันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งมีองค์ประกอบที่ประณีต งดงาม แต่ศิลปะของโรมันเน้นความใหญ่โตมโหฬาร มีความหรูหรา สง่างาม มั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมโรมันมีชื่อเสียงมาก โรมันเป็นชาติแรกที่คิดค้นสร้างคอนกรีตได้ สามารถใช้คอนกรีตหล่อขึ้นเป็นโครงสร้างรูปโดมช่วยทำให้การก่อสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น สถาปัตยกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารแพนเธออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) เป็นสนามกีฬารูปกลมรีขนาดใหญ่มหึมาสามารถจุคนดูได้ถึง 50,000 คน นอกจากงานสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว ชาวโรมันยังสร้างสะพานโค้งข้ามแม่น้ำและส่งน้ำข้ามหุบเขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประตูชัย (Arch of Triumph) สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญ และฉลองชัยของทหารโรมัน โดยสร้างเป็นประตูโค้งขนาดใหญ่สำหรับให้ทหารเดินทัพผ่านเมื่อออกสงครามหรือภายหลังได้รับชัยชนะ ประดับด้วยภาพประติมากรรมนูนสูงอย่างสง่างาม
งานประติมากรรมของโรมันมีไม่มาก ส่วนใหญ่ขนย้ายมาจากกรีก มีการสร้างสรรค์ขึ้นเองบ้างแต่เป็นส่วนน้อยนอกนั้นทำเลียนแบบกรีกทั้งหมด ผลงานที่พบในกรุงโรมได้แก่ ภาพเลาคูนกับบุตรชายกำลังถูกงูกัด เป็นผลงานที่นำมาจากกรีก นอกนั้นได้แก่ภาพประติมากรรมของบุคคลสำคัญในยุคนั้น เช่น รูปจูเลียสซีซาร์ รูปจักรพรรดิออกัสตัส รูปจักรพรรดิคาราคัลลา รูปจักรพรรดิเนโร เป็นต้น
งานจิตรกรรมของโรมัน มีการค้นพบภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพดีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันของชาวโรมันนอกนั้นเป็นภาพในเทพนิยาย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ลักษณะของภาพยังมีความงามที่สมบูรณ์ เป็นภาพเขียนสีและประดับด้วยหินสี (Mosaic) อย่างประณีต สวยงาม

ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art) ประมาณ ค.ศ. 455
ศิลปะไบแซนไทน์เป็นศิลปะที่มีลักษณะเชื่อมโยงความคิด และรูปแบบระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศิลปะมีลักษณะใหญ่โต คงทนถาวร ประดับตกแต่งด้วยการใช้พื้นผิว (Texture) อย่างหลากหลาย งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของไบแซนไทน์ คือการทำหลังคาเป็นรูปกลม (Cupula) ต่างจากหลังคาของศิลปะโรมัน ที่ทำเป็นรูปโค้ง (Arch) หลังคากลมแบบไบแซนไทน์ ภายนอกเรียกว่าโดม (Dome) หลังคากลมช่วยให้สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่โตมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบฉบับของศิลปะดังกล่าว ได้แก่ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โบสถ์เซนต์มาร์โค ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี กลับด้านบน

3. ยุคกลาง (Middle Age) ประมาณ ค.ศ. 300 – ค.ศ. 1300

ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิวด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโกติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก

ศิลปะโกติก (Gothic Art)
ศิลปะโกติกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (Realistic Art) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตู หน้าต่าง ช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance Art)
สงครามครูเสดนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุโรปตะวันตกอย่างใหญ่หลวง ระบอบการปกครองแบบศักดินาหมดสิ้นไป แว่นแคว้นต่าง ๆ เริ่มมีความเป็นอิสระ ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่ ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศง 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และโจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)
งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยฟื้นฟู มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม ศิลปินที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างสรรค์งานไว้เป็นอมตะเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)
ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโลชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (Galatea) ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้

ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque and Rococo Art)
คำว่า Baroque และ Rococo ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งานจิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (Realistic) แต่ใช้สีรุนแรงขึ้น งานสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นโค้งมนตกแต่งโครงสร้างเดิม มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม อาคารที่ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะบารอก และรอกโกโก ได้แก่ โบสถ์เซนต์แอกเนส (Church of St. Agnese) โบสถ์เซนต์คาร์โล (Church of St. Carlo) ที่กรุงโรม พระราชวังแวร์ซาย (Versailes palace) ในประเทศฝรั่งเศส โบสถ์ทั่วไปในยุโรปตอนเหนือ เช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี เป็นต้น กลับด้านบน

4. ยุคใหม่ (Modern Age) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)
นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม

ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่ ชาก – ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น

ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)
ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์ ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa) เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่ ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น

ศิลปะแบบเรียลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ โดเมียร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม มาเนต์ (Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่นการประกอบอาชีพ

ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)
กลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์เริ่มเบื่อรูปแบบที่มีหลักความงามแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นสิ่งเชื่อมโยง เน้นด้วยแสง สี บรรยากาศ ศิลปินที่สำคัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แก่ โคลด โมเนต์ (Claude Monet) ซิสเลย์ (Sisley) เดอกาส์ (Degas ปิซาโร (Pissaro มาเนต์ (Manet) เรอนัว (Renoir)

ศิลปะแบบโพสต์ – อิมเพรสชันมิสม์ (Post-Impressionism)
ศิลปะแบบโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์จะไม่เลียนแบบจากสิ่งที่เป็นจริงโดยการสร้างรูปทรงใหม่ แต่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การระบายสีด้วยเทคนิคขีด ๆ จุด ๆ เน้นสี แสง เงาให้เกิดมิติ บรรยากาศ ความงามและความประทับใจ ศิลปินในกลุ่มนี้ ได้แก่ แวนโกะห์ (Van Gogh) มาติส (Matisse) บงนาร์ด (Bonnard เซซาน (Cezanne) โกแกง (Gauguin) เซอราต์ (Seurat)

ศิลปะสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20
ลัทธิโฟวิสซึม เป็นศิลปะที่แสดงออกในเรื่องสีที่สดใสรุนแรงศิลปินที่สำคัญในลัทธินี้ ได้แก่ อองรี มาติส

ศิลปะนามธรรม เป็นศิลปะที่ไม่แสดงรูปทรงเหมือนจริง แต่แสดงเรื่องสีและพลังทางอารมณ์และความรู้สึก
ศิลปะคิวบิสม์ เป็นศิลปะกึ่งนามธรรม แสดงออกด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของปริมาตร มีความงามตามหลักของสุนทรียศาสตร์อย่างแท้จริง ศิลปินผู้นำศิลปะคิวบิสม์ ได้แก่ ปิกาสโซ
เรียบเรียงโดย...ครูสมบูรณ์ดอทคอม..